IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ปัญหาของระบบไฟฟ้าขัดข้อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานขององค์กร หน่วยงาน และยังทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันเชิงธุรกิจ หยุดไลน์ผลิต หรือเกิดความสูญเสีย ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการขาดการวางแผนในการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม ดังนั้นการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ( Electrical System Preventive Maintenance ) จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยรักษาความเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า เพื่อลดผลกระทบและความสูญเสียดังกล่าว
การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและการตรวจระบบไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการ ซึ่งการตรวจระบบไฟฟ้านั้นเป็นหน้าที่ของวิศวกรไฟฟ้า ช่างเทคนิคไฟฟ้า หรือ เจ้าหน้าที่ของฝ่ายวิศวกรรม โดยต้องเป็นไปตามกฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 และตามกฎหมายของกระทรวงแรงงานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558
โดยทั่วไปแล้วงานตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบการผลิต เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนานและมีความเชื่อถือได้ งานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ดีคือการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน( Preventive Maintenance : PM) สิ่งสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคือการตรวจสอบสภาพเพื่อให้ทราบว่าระบบหรืออุปกรณ์มีร่องรอยการเสื่อมสภาพหรือไม่ มีสภาพที่ต้องการการบำรุงรักษาหรือไม่ ในการตรวจสอบสามารถทำได้ 2 แบบ คือการตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) และการตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งต้องการความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์ด้วย
ในการตรวจสอบทั้งด้วยสายตาและด้วยการใช้เครื่องมือวัด สามารถแบ่งการตรวจสอบออกเป็น 2 ส่วนคือ การตรวจสอบทั่วไป และการตรวจสอบตัวอุปกรณ์แต่ละรายการ
1. การตรวจสอบทั่วไป
การตรวจสอบในขั้นตอนนี้ เป็นการตรวจสภาพทั่วไปของระบบไฟฟ้าทั่วไป เป็นการตรวจอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกัน เป็นอย่างดี การสัมผัสส่วนใด ๆ ต้องมั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้า หรือมีการป้องกันอย่างเหมาะสมแล้ว การตรวจทั่วไปมีดังนี้
- สายไฟฟ้า
- เซอร์กิตเบรกเกอร์
- ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย
- การระบายอากาศในห้องไฟฟ้า
- การระบายอากาศและท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- แบตเตอรี่
2. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า
เป็นการตรวจสอบที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อหาจุดบกพร่อง การเสื่อมสภาพ ความผิดปกติ และอื่น ๆ การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำการบันทึกค่า ผลการตรวจ และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาทางแก้ไข ข้อสำคัญคือ บางรายการต้องตรวจขณะที่จ่ายไฟฟ้า บางรายการต้องดับไฟก่อนจึงจะตรวจได้เนื่องจากมีอันตราย ผู้ที่จะทำการตรวจสอบต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ด้วย โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรได้รับการตรวจสอบมีหลายรายการดังนี้
2.1 หม้อแปลงไฟฟ้า : การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้
- ตัวถังหม้อแปลง
- การต่อลงดินของส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่ง
- สารดูดความชื้น
- ป้ายเตือนอันตราย
- พื้นลานหม้อแปลง
- เสาหม้อแปลง
- การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
- ตรวจสภาพหม้อแปลงและการติดตั้งอื่น
2.2 ตู้เมนสวิตช์ : การตรวจสอบตู้เมนสวิตช์หรือตู้สวิตช์ประธาน ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้
- สภาพของระบบสายดินและการต่อหลักดิน
- บริเวณโดยรอบตู้และตัวตู้ ตู้เมนสวิตช์ต้องมีพื้นที่ว่างให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก การตรวจพื้นที่โดยรอบและสภาพทั่วไป ควรตรวจสิ่งต่อไปนี้
- พื้นที่ว่าง
- เส้นทางที่จะเข้าไปยังพื้นที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน
- ตรวจจสอบว่ามีการวางวัสดุที่ติดไฟได้ติดกับตู้เมนสวิตช์
- ฝุ่น หยากไย่ โดยรอบตู้และภายในตู้
- ความผิดปกติทางกายภาพ
- การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
- การตรวจอื่นๆ อาจมีการตรวจสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมอีก เช่น ตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดที่หน้าแผง หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น
2.3 แผงย่อย : การตรวจสภาพแผงย่อยเป็นการตรวจสอบทั้งบริเวณการติดตั้งในพื้นที่ทั่วไป และพื้นที่ที่มีสารไวไฟ สำหรับพื้นที่ที่มีสารไวไฟให้ระบุประเภทและแบบของบริเวณนั้นด้วย
- ระบบต่อลงดิน
- บริเวณโดยรอบ
- การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
- การตรวจอื่นๆ ตรวจสอบเช่นเดียวกับตู้เมนสวิตช์
2.4 โคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง : การตรวจสอบโคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นการตรวจสอบรายการต่อไปนี้
- การติดตั้งและโครงสร้างของโคมไฟ
- หลอดไฟและขั้วหลอด
- สายป้อน สายวงจรย่อย และสวิตช์ตัดตอนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
- การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อม
- การตรวจอื่นๆ
2.5 สภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ : การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ อาจตรวจสอบเฉพาะในพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่จัดเก็บวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายเท่านั้น ในการตรวจสอบให้ระบุชนิดของอุปกรณ์ด้วยว่า เป็นอุปกรณ์ชนิดใด เหมาะสมกับที่ใช้ในบริเวณ (พื้นที่) อันตรายหรือไม่
- พื้นที่ติดตั้ง
- สภาพของอุปกรณ์และการต่อสายไฟฟ้า
- บริเวณโดยรอบอุปกรณ์
- การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง
- การตรวจอื่นๆ เป็นการตรวจสอบสภาพทั่วไปอื่นๆ ที่สามารถพบได้จากการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น การป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า และการต่อลงดิน เป็นต้น
3. ความถี่ในการตรวจสอบและบำรุงรักษา
ความถี่ในการตรวจสอบ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและการใช้งาน โดยปกติจะดำเนินการปีละ 1 ครั้ง การที่จะทำการตรวจสอบถี่ขึ้นหรือไม่นั้น ให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ประกอบด้วย
- การกัดกร่อนของบรรยากาศ
- สิ่งสกปรกและฝุ่นละออง
- อุณหภูมิโดยรอบและความชื้น
- ความถี่ในการทำงาน
- ความถี่ในการตัดกระแสลัดวงจร (กรณีเซอร์กิตเบรกเกอร์)
ทั้งนี้ การตรวจสอบบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า นอกจากการตรวจสอบเรื่องการบกพล่อง สึกหรอ หรือเสื่อมสภาพของอุปกรณ์แล้ว ยังรวมไปถึงการดูแลเรื่องความสะอาด ถ้าไม่มีการบำรุงรักษาจะเกิดความสกปรก ซึ่งส่งผลต่ออุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากฝุ่นละอองสะสมเมื่อรวมตัวกับความชื้น จะมีคุณสมบัติเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ และกลายเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า หากไม่ร้ายแรงมากก็อาจส่งผลแค่ระบบไฟฟ้าไม่เสถียร อุปกรณ์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่หากถึงขั้นร้ายแรงก็อาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเหตุการณ์หายนะได้
การตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า เพื่อให้สถานประกอบการสามารถใช้งานระบบไฟฟ้าในโรงงานได้อย่างมั่นใจและมีความปลอดภัยสูง การตรวจวัดค่าต่างๆทางไฟฟ้าต้องใช้เครื่องมือวัดเฉพาะด้านที่มีความเชื่อถือในทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องมือวัดความต้านทานดิน เครื่องมือวัดความเป็นฉนวน อุปกรณ์ตรวจวัดหาค่าความร้อน และนำผลของการตรวจวัดมาวิเคาะห์เป็นรายงาน โดยมีข้อปรับปรุงเสนอแนะรายงาน ตามกรณีต่างๆ โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์
การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอดูเหมือนเป็นค่าใช้จ่ายสิ้นเปลือง แต่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด เพราะจะทำให้ระบบต่างๆ ได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอก่อนที่จะชำรุดหรือเสื่อมสภาพ การรู้ก่อนและแก้ไขก่อน โดยการบำรุงรักษาก่อนที่จะสึกหรอ นอกจากจะยืดอายุการใช้งานได้อย่างมหาศาลแล้ว ยังทำให้ลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์อัคคีภัย และจากการหยุดสายการผลิตได้
"หจก.ศุภณัฐ เทคนิคอล" ให้บริการงานทดสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ให้บริการทดสอบอุปกรณ์ และระบบไฟฟ้า ด้วยทีมงานที่ชำนาญการและมีประสบการณ์การทำงานสูง และบริการตรวจสอบ บำรุงรักษา อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าและระบบควบคุม ทั้งในระบบสถานีไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำ
- บำรุงรักษา อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าและระบบควบคุม ทั้งในระบบสถานีไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำ
- หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง (Power Transformer)
- อุปกรณ์ตัดตอนอัตโนมัติ (Circuit Breaker)
- สวิทช์ตัดตอน (Disconnection Switch)
- หม้อแปลงกระแสและแรงดัน (Current and voltage transformer)
- คาซิเตอร์ (Capacitor Bank)
- ตู้สวิทช์เกียร์ (MV Switchgear)
- อุปกรณ์ป้องกัน (Protectiove Relay)
- เครื่องมือวัด (Mtering and Trasducer)
- อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
เราเชี่ยวชาญงานระบบไฟฟ้า จำหน่าย-ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าอาคารพาณิชย์และโรงงาน ให้บริการ รับปรึกษา-ออกแบบ ระบบไฟฟ้าโรงงาน จำหน่าย และติดตั้ง หม้อแปลงระบบไฟฟ้าแรงสูง ซ่อมและปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในโรงงาน สนใจสอบถามโปรดติดต่อ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศุภณัฐ เทคนิคอล
SUPANUT TECHNICAL PARTNERSHIP LIMITED
Call : 089-6527559
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Facebook : หจก.ศุภณัฐเทคนิคอล