IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการในโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/ Upskill) ระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรรมศาสตร์ และนายเมธีณัฐ รัตนกุล เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม (ผู้ชำนาญการพิเศษ) สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามความร่วมมือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรม ZOOM
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/ Upskill) เป็นโครงการจัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญตามอัตลักษณ์ของสถาบันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์สูงสุด จัดทำหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร (Non-Degree) และอบรมเพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) โดย มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non degree) จำนวน 2 หลักสูตร คือ "หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21" โดย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และหลักสูตร "VR-Technology for Industrial Robotic and Tooling Design" โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 (ใช้เวลาอบรม 30 ชั่วโมง)
มุ่งให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้มีความรู้ ความเข้าใจใน เทคนิค วิธีการ และมีทักษะที่ถูกต้องในการดูแลเด็กในช่วงวัยต่างๆ อย่างมีมาตรฐานและมีคุณภาพ และสามารถนำองค์ความรู้ไปประกอบอาชีพผู้ดูแลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทักษะที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับ ประกอบด้วย องค์ความรู้ด้านพัฒนาการเด็ก การจัดกิจรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ หลักโภชนาการสมวัย การประเมินพัฒนาการเบื้องต้น โรคและปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก การป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก เป็นต้น ทั้งนี้ อาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษาจะทำงานใน 3 กลุ่มงาน ดังนี้
-
ปฏิบัติงานผู้ดูแลเด็กในสถานบริการรับดูแลเด็กเล็กในสถานประกอบการ หรือเฉพาะรายที่บ้าน
-
ปฏิบัติงานเป็นผู้ดูแลเด็กเล็กชาวต่างชาติทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
-
ศึกษาต่อเพื่อเก็บประสบการณ์ 220 ชั่วโมง ในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการเนอสเซอรี่
2. VR-Technology for Industrial Robotic and Tooling Design (ใช้เวลาอบรม 40 ชั่วโมง)
จากกรณีสถานการณ์ COVID-19 เห็นได้ชัดว่า หากเกิดมีแรงงานติดเชื้อขึ้นภายในสายการผลิตที่มีคนงานและวิศวกรจำนวนมาก จะมีความเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของสายการผลิตได้ ส่งผลให้สถานประกอบการขาดรายได้ ดังนั้น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญต่อสายการผลิตในปัจจุบัน ดังนั้น ความต้องการช่างโรบอตและวิศวกรที่มีความรู้ทางการโปรแกรมเส้นทางและการทำงานของหุ่นยนต์ (Teaching) จะมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ
อย่างไรก็ตาม การ Teaching หุ่นยนต์แบบตัวต่อตัว ไม่ได้ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังทำให้ต้องหยุดการใช้งานหุ่นยนต์ในสายการผลิต กระทบกับยอดการผลิต อีกทั้งการมีช่างหรือวิศวกรที่ทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์จำนวนมากนั้น มีความเสี่ยงต่อความแตกต่างของการกำหนดเส้นทางหุ่นยนต์ และพารามิเตอร์ต่างๆที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อคุณภาพงานที่ไม่สม่ำเสมอ
ดังนั้นในหลักสูตรนี้ จะทำการนำเสนอการออกแบบวิธีการทำงานของหุ่นยนต์ การกำหนดเส้นทาง การกำหนดพารามิเตอร์ จากศูนย์กลางเดียวด้วย Virtual Reality Software ซึ่งจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพในกระบวนการผลิต จากความสามารถของการคัดลอกโปรแกรมถ่ายสู่หุ่นยนต์ในสายการผลิตได้อย่างรวดเร็ว ไม่กระทบกับการหยุดสายการผลิต
รวมถึงการวางแผนการผลิตล่วงหน้า สำหรับโมเดลของผลิตภัณฑ์ใหม่และความต้องการปรับปรุงสายการผลิต ซึ่งการออกแบบเครื่องมือต่างๆที่ต่อพ่วงกับหุ่นยนต์ จะสามารถทำการออกแบบการเข้าถึง คาบเวลาในการทำงานบนชิ้นงาน และการชนกับอุปกรณ์จับยึดต่างๆ ทำให้การวางแผนทางวิศวกรรมมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาของการสั่งซื้อเครื่องมือ และการสร้างเครื่องมือที่ไร้ประสิทธิภาพเข้ามาใช้งาน เป็นการลดความเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการออกแบบและวางแผนทางวิศวกรรม
โดยหลังจบหลักสูตร VR-Technology for Industrial Robotic and Tooling Design ผู้เข้าอบรมจะได้รับทักษะด้านการออกแบบวิธีการทำงานของหุ่นยนต์และอุปกรณ์ต่อพ่วงผ่าน VR-robot programing รวมถึงทักษะการประเมินพารามิเตอร์ในการผลิต เพื่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด นอกจากนี้ยังจะมีทักษะด้านการออกแบบอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่อพ่วงที่มีประสิทธิภาพ โดยอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษาจะทำงานใน 3 กลุ่มงาน ดังนี้
-
Digitalized Manufacturing Engineering
-
VR-Offline Teaching Technician
-
Entrepreneur
มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ก่อกำเนิดมามากกว่า 130 ปี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจำกัดการเรียน การสอนวิชาแพทยศาสตร์เป็นสาขาแรก ต่อมามีการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นในหลายสาขาวิชา โดยเฉพาะสาขาหลักทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จนถึงปัจจุบัน ครบคลุมครบทุกสาขาวิชาทั้งวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากการเริ่มต้นการจัดการเรียนการสอนวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีโรงพยาบาลมากกว่า 1,000 เตียง อยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยถึง 2 โรงพยาบาล ซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งที่สำคัญยิ่งของมหาวิทยาลัย เพราะไม่เพียงพอแค่การผลิตแพทย์ออกสู่สังคมแล้ว
ยังให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยต่อปีเป็นจำนวนมาก มีผู้รับบริการเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านคนต่อปี รวมถึงมีการคิดค้นและพัฒนากระบวนการรักษาพยาลเพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับการรักษาที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ ยังผลิตผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำผลงานวิจัยไปแก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคม ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและระดับโลก ที่ผลิตบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญตามวิชาชีพ สร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประชาคมโลก รวมถึงการเป็นที่พึ่งทางวิชาการให้กับสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในเวทีโลก
มหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดเด่นและจุดแข็งทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมาอย่างยาวนาน และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะมุ่งมั่นเป็นมหาวิทยาลัยอยู่ในอันดับ 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกภายในปี 2573 ที่จะผลิตและพัฒนาความสามารถศักยภาพของทุนมนุษย์ รวมทั้งยกระดับการศึกษาและผลงานวิจัยให้กับประเทศ ด้วยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และความสามารถในการแข่งขันของชาติ รวมทั้งคำนึงถึงการสร้างโอกาสความเท่าเทียมกันทางสังคม
ด้วยกลยุทธ์ (Strategic Initiatives) ดังนี้
- สร้างกลุ่มวิจัยหลายรุ่นหลายสาขา (Multi-generation Researcher and Multidisciplinary) ด้วยการปรับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการตั้งกองทุนสนับสนุน
- สนับสนุน Global Connectivity ด้วยการสร้างความร่วมมือวิจัยกับสถาบัน/โครงการวิจัยระดับนานาชาติแบบสหสถาบันที่มี Global Impact
- สร้างระบบสนับสนุนการวิจัยที่ครบวงจร จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ (Research value chain) ด้วยการวิจัยแบบ demand-driven และผลักดันให้เกิดการวิจัยที่ให้ผลลัพธ์ที่งานวิจัยที่มี global and social impact สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในสังคมและเชิงพาณิชย์
- สร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรม โดยจัดหาพื้นที่ส่วนรวม Research & Innovation complex ประกอบด้วย Open (multidisciplinary) lab, Technology transfer office, Co-working space, Business, Co-product design, Design thinking เพื่อเป็นที่จัดกิจกรรม สร้างบรรยากาศการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
- เพิ่มจำนวนนักวิจัยสำเร็จรูปอย่างรวดเร็ว
มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นในการทำโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/ Upskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตฺการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อสร้างทักษะให้พร้อมกับเศษรฐกิจแบบ 'New Normal'