November 15, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ดัชนีก่อการร้ายโลกปี 2561 ชี้ผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายลดลง 44% ในสามปี แต่การก่อการร้ายยังแพร่กระจายทั่วโลก

ลอนดอน : ดัชนีก่อการร้ายโลก (Global Terrorism Index: GTI) ประจำปี 2561 เผยให้เห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายลดลงเป็นปีที่สามติดต่อกัน หลังจากพุ่งสูงสุดในปี 2557

ทั้งนี้ สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (Institute for Economics & Peace: IEP) ได้จัดทำดัชนีก่อการร้ายโลกเป็นปีที่ 6 เพื่อให้ข้อมูลที่ครอบคลุมที่สุดเกี่ยวกับแนวโน้มการก่อการร้ายทั่วโลก

  • จำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายลดลง 27% ในปี 2560 แตะที่ 18,814 คนทั่วโลก นับว่าลดลงเป็นปีที่สามติดต่อกัน

  • การก่อการร้ายลดลงทั่วโลก โดยคะแนนการก่อการร้ายดีขึ้นใน 94 ประเทศ และแย่ลงใน 46 ประเทศ นับว่าประเทศที่คะแนนดีขึ้นเมื่อเทียบรายปีมีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2547

  • ผลกระทบของการก่อการร้ายที่มีต่อเศรษฐกิจโลกคิดเป็นมูลค่า 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 ลดลง 42% จากปีก่อนหน้า

  • จำนวนผู้เสียชีวิตในยุโรปลดลง 75% โดยฝรั่งเศส เบลเยียม และเยอรมนีมีสถานการณ์ดีขึ้นมาก แต่สถานการณ์ในสเปนย่ำแย่ลงอย่างชัดเจน

  • การก่อการร้ายยังคงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดย 67 ประเทศมีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหนึ่งคนในปี 2560

  • การก่อการร้ายโดยกลุ่มขวาจัดเพิ่มมากขึ้นในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก โดยมีการโจมตี 59 ครั้งในปี 2560 และมีผู้เสียชีวิต 17 คน

  • การเสื่อมถอยของกลุ่ม ISIL ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตในอิรักลดลง 56% ในช่วงปี 2559-2560 อย่างไรก็ตาม ISIL ยังคงเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่อันตรายที่สุดในโลก

 

 

จำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายลดลง 27% ในปี 2560 โดยลดลงมากที่สุดในอิรักและซีเรีย นอกจากนี้ คะแนนการก่อการร้ายยังดีขึ้นใน 94 ประเทศ เทียบกับ 46 ประเทศที่คะแนนแย่ลง นับว่าประเทศที่คะแนนดีขึ้นเมื่อเทียบรายปีมีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2547

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผลกระทบจากการก่อการร้ายลดลงทั่วโลก แต่กลับพบว่าการก่อการร้ายยังคงแพร่กระจายไปทั่ว และสถานการณ์ย่ำแย่ยิ่งกว่าเดิมในบางพื้นที่

  • ประเทศ (อัฟกานิสถาน อิรัก ไนจีเรีย โซมาเลีย และซีเรีย) มีผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายมากกว่า 1,000 คน ขณะที่ 19 ประเทศมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน

  • โซมาเลียและอิยิปต์มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปี 2560 โดยการโจมตีครั้งหนึ่งในโซมาเลียทำให้มีผู้เสียชีวิต 587 คน และการโจมตีครั้งหนึ่งในอียิปต์ทำให้มีผู้เสียชีวิต 311 คน

  • จำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายพุ่งขึ้น 93% ในโซมาเลียในช่วงปี 2559-2560

  • 67 ประเทศมีผู้เสียชีวิตมากกว่าหนึ่งคน และ 98 ประเทศเกิดการโจมตีมากกว่าหนึ่งครั้ง

  • แองโกลาและสเปนมีคะแนนการก่อการร้ายย่ำแย่ลงมากที่สุด อันเนื่องมาจากการโจมตีหนึ่งครั้งในแองลาและการโจมตีหลายครั้งในสเปน

  • เมียนมาและฟิลิปปินส์มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายมากเป็นประวัติการณ์ในปี 2560 ด้วยยอด 166 คน และ 50 คนตามลำดับ

  • อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายมากที่สุดในปี 2560 แซงหน้าอิรัก

 

 

Steve Killelea ประธานบริหารสถาบัน IEP อธิบายว่า “จากการวิจัยของ IEP พบว่า ความขัดแย้งและการก่อการร้ายโดยรัฐคือสาเหตุหลักของการก่อการร้าย โดยใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมากที่สุดนั้นทุกประเทศเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และ ประเทศเกิดสงครามครั้งใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,000 คน จำนวนผู้เสียชีวิตใน 10 ประเทศนี้คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 84% ของจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายทั้งหมดในปี 2560 และเมื่อรวมประเทศที่มีการก่อการร้ายทางการเมืองในระดับสูง

 สัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 99% การก่อการร้ายทางการเมืองประกอบด้วยการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม การทรมาน และการคุมขังโดยไม่มีการพิจารณาคดีในศาล

ในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก การก่อการร้ายทางการเมืองของกลุ่มขวาจัดกำลังเพิ่มขึ้น โดยในช่วงเวลาสี่ปี ระหว่างปี2556-2560 บุคคลหรือกลุ่มขวาจัดได้ก่อเหตุโจมตี 127 ครั้งในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 66 คน ข้อมูลระบุว่าในปี 2556 ไม่มีผู้เสียชีวิต ขณะที่ปี 2560 มีผู้เสียชีวิต 17 คน การโจมตีส่วนใหญ่กระทำคนเดียวโดยผู้ที่มีความเชื่อแบบขวาจัด ชาตินิยมผิวขาว และต่อต้านมุสลิม

สองประเทศที่มีการก่อการร้ายลดลงมากที่สุดคืออิรักและซีเรีย โดยจำนวนผู้เสียชีวิตลดลง 5,500 คน และ 1,000 คนตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากการที่กลุ่ม ISIL เสื่อมถอยลงอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายของกลุ่ม ISIL ลดลง 52% ในปี 2560 ขณะที่ความรุนแรงของการโจมตีก็ลดลงเช่นกัน เนื่องจากทางกลุ่มที่ศักยภาพน้อยลง อย่างไรก็ดี ISIL ยังคงเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่อันตรายที่สุดในโลกในปี 2560 ทั้งนี้ ปัจจุบันกลุ่ม ISIL สูญเสียฐานที่มั่นและรายได้เกือบทั้งหมด ส่งผลให้ศักยภาพลดลงและทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตในการโจมตีแต่ละครั้งลดลงตามไปด้วย และข้อมูลเบื้องต้นบ่งชี้ว่าแนวโน้มจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในปี 2561

  

ในปี 2560 กลุ่มตาลีบันได้เปลี่ยนจากการโจมตีพลเรือนมาโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารแทน โดยสังหารตำรวจและทหารไป 2,419 นายในปี 2560 เพิ่มขึ้นจาก 1,782 นายในปีก่อนหน้า ส่วนการโจมตีเพิ่มขึ้นจาก 369 ครั้ง เป็น 386 ครั้งในปี 2560

 

แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายจะลดลงอย่างมากตลอดสามปีที่ผ่านมา แต่การโจมตีครั้งใหม่ๆก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มก่อการร้ายอิสลามมีความเข้มแข้งและยืดหยุ่นมาก สามารถกระจายและตั้งกลุ่มใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลระบุว่าในปี 2560 ในบรรดากลุ่มก่อการร้าย 169 กลุ่มที่ก่อเหตุจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหนึ่งคนนั้น 42 กลุ่มเป็นกลุ่มใหม่หรือกลุ่มที่ไม่เคยก่อเหตุจนมีผู้เสียชีวิตตลอดสามปีก่อนหน้านั้น และในปี 2560 กลุ่มใหม่ที่ก่อการร้ายมากที่สุดคือ ฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ในซีเรีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 177 คน

 

การก่อการร้ายในยุโรปตะวันตกลดลง 52% โดยฝรั่งเศส เยอรมนี และเบลเยียม มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายลดลงอย่างมากในปี 2560 โดยลดลงเหลือ 81 คน จาก 168 คนในปีก่อนหน้า และแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ในปี 2561 ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตเพียง คน ณ เดือนตุลาคม 2561

สตีฟ คิลเลเลีย อธิบายว่า “สถานการณ์ที่ดีขึ้นมากในยุโรปเกิดจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การเสื่อมถอยของกลุ่ม ISILเนื่องจากถูกกำราบและมีศักยภาพลดลงในการก่อเหตุในยุโรป รวมถึงการที่หลายฝ่ายสนับสนุนเงินทุนมากขึ้นเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย และเทคนิคการสอดส่องดูแลที่ดีขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายในยุโรปลดลง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จำนวนผู้เสียชีวิตจะลดลง แต่จำนวนการก่อเหตุกลับเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่า ISIL กำลังสูญเสียความสามารถในการวางแผนและทำการโจมตีในระดับที่รุนแรง อันเป็นผลมาจากศักยภาพที่ลดลงและมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายที่เพิ่มมากขึ้น”

นอกจากนี้ ผลกระทบของการก่อการร้ายที่มีต่อเศรษฐกิจโลกก็ลดลงเช่นกัน โดยคิดเป็นมูลค่า 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 ลดลง 42% จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การเสียชีวิตคิดเป็นสัดส่วน 72% ของผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการก่อการร้าย ส่วนที่เหลือคือการสูญเสีย GDP การสูญเสียทรัพย์สิน และการบาดเจ็บที่ไม่อันตรายถึงชีวิต อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้มาก เพราะตัวเลขข้างต้นไม่ได้รวมผลกระทบทางอ้อมที่มีต่อธุรกิจ การลงทุน และต้นทุนของหน่วยงานด้านความปลอดภัยในการต่อต้านการก่อการร้าย

 

* 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมากที่สุด เรียงลำดับตามจำนวนผู้เสียชีวิต

1) อัฟกานิสถาน 2) อิรัก 3) ไนจีเรีย 4) โซมาเลีย 5) ซีเรีย 6) ปากีสถาน 7) อียิปต์ 8) คองโก 9) สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 10) อินเดีย

 

ดัชนีก่อการร้ายโลก 

ดัชนีก่อการร้ายโลก (GTI) ซึ่งจัดทำโดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (IEP) ให้ข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับแนวโน้มและรูปแบบของการก่อการร้ายทั่วโลกตลอด 17 ปีที่ผ่านมา รายงานนี้จัดอันดับ 163 ประเทศ (99.6% ของประชากรโลก) ตามผลกระทบที่ได้รับจากการก่อการร้าย โดยพิจารณาจากจำนวนครั้งที่เกิดการก่อการร้าย จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้บาดเจ็บ และความเสียหายของทรัพย์สิน

ฐานข้อมูลก่อการร้ายโลก

ดัชนีก่อการร้ายโลกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลก่อการร้ายโลก (GTD) ของกลุ่มความร่วมมือเพื่อศึกษาการก่อการร้ายและตอบสนองต่อการก่อการร้าย (START) ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ โดยเป็นแหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายทั่วโลกที่ครอบคลุมที่สุด

 

สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ

สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (IEP) คือหน่วยงานมันสมองชั้นนำระดับโลกที่อุทิศตนให้กับการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์สันติภาพและคุณค่าที่มีต่อเศรษฐกิจ ด้วยการพัฒนาดัชนีระดับชาติและระดับโลกหลายดัชนี เช่น ดัชนีสันติภาพโลก เพื่อคำนวณผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากความรุนแรง และทำความเข้าใจผลเชิงบวกของสันติภาพ 

ที่มาสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 18 December 2018 15:49
บงกชธร บวรปิติภูวดล

Author : เกาะติดข่าวในยุโรป

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

มันส์ระเบิดแน่! กับโมโตครอสชิงแชมป์ประเทศไทย ช่วงท้ายฤดูกาล สนาม 8-9 ที่ Silver Rock Bike Park วันที่ 13-14 ก.ค. 67 นี้

S&J มุ่งรักษาการเติบโต มั่นยึดถือแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ย้ำเป็น 1 ใน 25 บริษัทที่ทำคะแนนสูงสุดของทั้ง 4 เกณฑ์ คือรางวัลของการขับเคลื่อน เป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จ

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM