IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยร่วมกับมูลนิธิอิควล เอเชีย (Equal Asia Foundation) ได้รับเกียรติจากผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ นักวิชาการ นักการทูตและผู้กำหนดนโยบายรวมกว่า 100 คน ที่มารวมตัวกันเนื่องในโอกาสวันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี เน้นให้เห็นถึงความท้าทายและปัญหาที่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT+) ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
กิจกรรมที่ผ่านมาซึ่งจัดขึ้น ณ สถานทูตออสเตรเลียมีการอภิปรายในประเด็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเผชิญอยู่ และหารือถึงแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อหาทางให้บุคคลเหล่านี้ได้รับการคุ้มครอง วิทยากรได้เน้นถึงความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนผู้ลี้ภัยเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลบหนีจากการกดขี่ข่มเหงและวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม ผู้เชี่ยวชาญได้สะท้อนให้เห็นถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองผู้แสวงหาที่พักพิงของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและความต้องการเฉพาะของกลุ่มนี้ โดยผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานราชการและภาคประชาสังคมสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้
นายไรอัน ฟิกเรโด ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิอิควล เอเชียกล่าวว่า "ประเทศไทยเป็นผู้บุกเบิกสิทธิและการยอมรับของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่อาศัยอยู่ในประเทศ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ไม่ได้รับการพูดถึงมากพอคือผู้ที่ต้องซ่อนหรือปกปิดรสนิยมทางเพศอันเนื่องจากการเกรงกลัวต่อกดขี่ข่มเหงที่บ้านและขาดแคลนทรัพยากรสำหรับผู้ลี้ภัยที่นี่"
ตามรายงานของสำนักงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ณ เดือนพฤษภาคม 2562ระบุว่ามีผู้ลี้ภัยจำนวน 95,644 คนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่ถูกเลือกปฏิบัติอยู่แล้วก็ยิ่งมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้นในสถานการณ์ดังกล่าว
นายอัลลัน แมคคินนอน เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย กล่าวว่า ออสเตรเลียได้ให้การสนับสนุนสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมาอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทอย่างมากในการสร้างพันธมิตรระดับโลกเพื่อพัฒนาสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ นายแมคคินนอนเน้นย้ำว่าออสเตรเลียร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรด้านกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมถึงสนับสนุนมูลนิธิอิควล เอเชีย เขากล่าวเพิ่มเติมว่า "ออสเตรเลียสนับสนุนสิทธิความเท่าเทียมกันของมนุษยชน และสนันสนุนให้ยุติความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศผ่านกลไกสหประชาชาติและเวทีพหุภาคีที่เกี่ยวข้อง การปกป้องสิทธิมนุษยชนสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศคือเสาหลักของการเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนของออสเตรเลีย"
ออสเตรเลียออกกฎหมายการสมรสเพศเดียวกันในเดือนธันวาคม 2560 ตามประชามติซึ่งชาวออสเตรเลียลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์เพื่อให้สิทธิการแต่งงานที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคน กฎหมายดังกล่าวถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้คู่รักที่บรรลุนิติภาวะสามารถสมรสกันได้โดยปราศจากข้อปิดกั้นทางด้านเพศ รสนิยมทางเพศ อัต-ลักษณ์ทางเพศหรือสถานะทางเพศ
ผู้ร่วมอภิปราย
- คุณอัญชนา สุวรรณานนท์ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมายาวนาน นักวิจัยอิสระและที่ปรึกษาผู้ฝึกสอนที่มีความเชี่ยวชาญด้านปัญหาสังคม เพศ และสุขภาพและสิทธิทางเพศ โดยทำงานอย่างกว้างขวางทั่วเอเชีย แอฟริกา ยุโรปและสหรัฐอเมริกา เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและสมาชิกคณะกรรมการปัจจุบันของ กลุ่มอัญจารี องค์กรด้านกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศแห่งแรกของประเทศไทยที่ส่งเสริมสิทธิทางเพศซึ่งรวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ องค์กรอัญจารีได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชน Felipa de Souza ในปี 1995 และรางวัล Utopiaในปี 2000 ในปี 1998 กลุ่มอัญจารีได้ช่วยยกเลิกกฎการกีดกันและห้ามกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ให้ปรากฏตัวทางโทรทัศน์และช่วยคว่ำนโยบายมหาวิทยาลัยที่ห้ามมิให้บุคคลข้ามเพศเข้าเรียนต่อใน 36 สถาบัน ในปี 2002 ทางกลุ่มประสบความสำเร็จในการให้กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยเปิดเผยต่อสาธารณะว่าการรักร่วมเพศไม่ได้เป็นความเจ็บป่วยทางจิต ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2006 ถึงเดือนมิถุนายน 2007 กลุ่มอัญจารีและกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ ชักชวนสมาชิกของ CDC และ CDA เพื่อเรียกร้องให้แน่ใจว่ารัฐธรรมนูญจะคุ้มครองสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
- คุณพอล ดีลเลน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนอิสระที่มีประสบการณ์ 16 ปีในด้านการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและการสนับสนุนและส่งเสริมสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก ในปี 2019 คุณพอลได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงผู้หญิงและความเสมอภาคให้เป็นสมาชิกของ LGBT Advisory Panel แห่งแรกของสหราชอาณาจักร ซึ่งให้คำแนะนำแก่รัฐบาลสหราชอาณาจักรในเรื่องกฎหมาย นโยบายและการปฏิบัติเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ในเดือนตุลาคมเขาจะเข้าร่วมงานกับกรมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ London School of Economics (LSE) ในฐานะ นักวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- คุณเปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสองสาขาด้านการพัฒนาสังคมที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์ของเธอครอบคลุมเรื่องสิทธิของคนข้ามเพศและชนกลุ่มน้อยทางเพศ เธอได้ทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติหลายแห่งที่ให้บริการประชากรสำคัญที่ได้รับผลกระทบด้านการป้องกันและรักษาการติดเชื้อเอชไอวี เธอเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะทำงานผู้ก่อตั้งเครือข่ายผู้ให้บริการข้ามเพศของเอเชียแปซิฟิก เธอทำงานเป็นตัวแทนภาคชุมชนและผู้ประสานงานเพื่อการทดลองการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของกระทรวงสาธารณสุข และศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา เธอยังเคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่โครงการเอชไอวี/เอดส์แห่งชาติที่ยูเนสโกกรุงเทพฯ เธอได้เคยบรรยายเรื่องเพศและปัญหาทางเพศที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่งรองประธานสมาคมเรนโบว์สกายแห่งประเทศไทยและเป็นผู้นำโครงการ" Be Visible Asia" ของเธอซึ่งมีเป้าหมายที่จะเข้าถึงกลุ่มที่เข้าถึงยาก รวมทั้งในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ บุคคลข้ามเพศ เป็นต้น
- คุณไรอัน ฟิเกียโด ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการมูลนิธิอิควล เอเชีย (Equal Asia Foundation) ศูนย์บ่มเพาะโครงการเพื่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่ต้องการพลิกโฉมการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งสนับสนุนและค้นหาแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อขจัดปัญหาความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่ฝังลึก งานของมูลนิธิฯ ในปีนี้มุ่งเน้นไปที่การจัดการช่องว่างระหว่างกันที่เพิ่มขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดความโดดเดี่ยวทางสังคมของผู้สูงอายุ ป้องกันการฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเองในกลุ่มคนวัยรุ่น และบรรเทาปัญหาด้านความเปราะบางของแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศความขัดแย้งและภัยพิบัติ
- คุณศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักสิทธิมนุษยชนที่โดดเด่นและเคลื่อนไหวด้านกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งทำงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ การเคลื่อนไหวของเขาครอบคลุมเรื่องการสนับสนุนผู้ลี้ภัย บุคคลที่ขายบริการทางเพศและบุคคลข้ามเพศ การเคลื่อนไหวเขาเน้นไปที่กลุ่มคนที่มีความเปราะบางที่สุดของประเทศไทย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิอิควล เอเชีย โปรดกดไลค์ กดแชร์และกดติดตามได้ที่ www.facebook.com/equalasiafoundation สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย โปรดกดไลค์ กดแชร์และกดติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/australiainthailand/
เกี่ยวกับมูลนิธิอิควล เอเชีย (Equal Asia Foundation)
มูลนิธิอิควล เอเชียเป็นศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมที่ตั้งอยู่กรุงเทพฯ งานของมูลนิธิดำเนินการโดยยึดหลักการด้านสิทธิสตรีและสิทธิมนุษยชน โดยก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานทั้งในเชิงปฏิบัติและเชิงกลยุทธ์ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านการพัฒนาต่าง ๆ ในเอเชีย ภารกิจของมูลนิธิคือการจัดการกับจุดบอดของโครงการเกี่ยวกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยการร่วมมือกับองค์กรชุมชนในภูมิภาค มูลนิธิได้ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการสนับสนุนกลุ่มบุคคลดังกล่าวเพื่อเร่งแบบจำลองที่ประสบความสำเร็จ ทางมูลนิธิฯ ร่วมมือกับผู้บริจาค ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจ นักวิชาการ และหน่วยงานของสหประชาชาติเพื่อสร้างตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ให้มากขึ้น มูลนิธิฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาความร่วมมือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ส่งเสริมการแบ่งปันและการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ภารกิจหลักของมูลนิธิในระยะ 3 ปีข้างหน้าได้แก่
- การรวมประเด็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการด้านมนุษยธรรม (อาทิ การโยกย้ายผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัย)
- ปรับปรุงสุขภาพจิตของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (เช่น ให้ความสำคัญกับการป้องกันการฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเอง)
- เสริมสร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพในการรับมือกับปัญหาของผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ
- จัดการกับความยากจนและเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจที่รวมกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศโดยใช้เทคโนโลยี
เกี่ยวกับ PridePride คือการฉลองประจำปีระดับโลกของกลุ่มบุคคลผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศตลอดเดือนมิถุนายนเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของชุมชนดังกล่าว Pride เริ่มต้นจากการประท้วงการใช้ความรุนแรงกับรัฐที่มีต่อกลุ่มบุคคลผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่จลาจล ณ Stonewall Inn และการเฉลิมฉลองขบวนพาเหรดได้เติบโตขึ้นในระดับโลก ความภาคภูมิใจในวันนี้เป็นจุดยืนที่มั่นคงต่อการเลือกปฏิบัติที่กลุ่มบุคคลผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศต้องเผชิญ ในขณะเดียวกันก็มีการเฉลิมฉลองเพื่อส่งเสริมการยืนยันศักดิ์ศรีและสิทธิความเท่าเทียมของตนเอง ส่งเสริมการยอมรับในฐานะกลุ่มทางสังคม สร้างชุมชน และสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ