November 15, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

NIA หวังพลิกความเหลื่อมล้ำ ชนบท-สังคมเมือง

เอ็นไอเอ เดินหน้าสู่เจ้าภาพหลักการผลักดัน “ธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม” เฟ้นหา 3 แพลตฟอร์มสุดล้ำ หวังพลิกความเหลื่อมล้ำ ชนบท-สังคมเมือง

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เร่งขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม เดินหน้าโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน หรือ City & Community Innovation Challenge ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเฟ้นหาโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาและประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นในสังคม โดยโจทย์ที่สำคัญในปีนี้แบ่งเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ นวัตกรรมการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ นวัตกรรมบริการสาธารณะ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ การดำเนินโนโยบายดังกล่าว NIA ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักของรัฐที่จะช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้เกิดการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องด้วยกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทุนสนับสนุน รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรม เช่น การบ่มเพาะ การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาโครงการนำร่อง รวมถึงการขยายผลให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า NIA เล็งเห็นถึงโอกาสในการส่งเสริมและผลักดัน "นวัตกรรมเพื่อสังคม" ให้สามารถตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ได้มากยิ่งขึ้น จึงเดินหน้าโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน หรือ City & Community Innovation Challenge ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งเป็นแนวคิดในการทำงานร่วมกันหรือเรียกว่า "การร่วมรังสรรค์"

"การร่วมรังสรรค์" ระหว่างหน่วยงานด้านการปกครอง องค์กรเอกชน องค์กรภาคสังคม ภาคการศึกษา และภาคประชาชน โดยจะมุ่งเฟ้นหาโครงการที่สามารถผลักดันไปสู่การใช้งานจริง เพื่อแก้ไขปัญหาและประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นในสังคม 

ซึ่งโจทย์ที่สำคัญในปีนี้แบ่งเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ 

  • นวัตกรรมการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ (Innovation for Disaster Risk Management) ซึ่งมุ่งเน้นการป้องกันและลดผลกระทบความเสี่ยงภัยพิบัติ การเตรียมความพร้อมต่อการเผชิญภัยพิบัติ การรับมือและตอบสนองต่อสถานการณ์ การบรรเทาทุกข์และให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น การฟื้นฟู (การซ่อมสร้าง หรือการฟื้นคืนวิถีชีวิต)
  • นวัตกรรมบริการสาธารณะ (Public Service Innovation) มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีพลเมืองในการมีส่วนร่วมของประชาชน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐ ความโปร่งใสในการดำเนินงาน การเข้าถึงบริการสาธารณะ การแก้ปัญหาต่างๆในเมืองและชุมชน การสื่อสารระหว่างภาครัฐกับประชาชน
  • การยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง (Enhancing Livelihoods of Vulnerable Groups) โดยให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม การเข้าถึงการบริการด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ ความเท่าเทียมทางเพศนวัตกรรมสำหรับผู้พิการ ความเท่าเทียมด้านการศึกษา การจัดการระบบสุขภาพ และนวัตกรรมสำหรับผู้ด้อยโอกาส

โดยในการเฟ้นหานวัตกรรมทั้ง 3 หัวข้อ จะพิจารณาหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ ระดับความเป็นนวัตกรรม เป้าหมายและผลกระทบของโครงการ โอกาสในการขยายผล และความร่วมมือกับเมืองและชุมชน ซึ่งโครงการที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนเงินทุนสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านบาท พร้อมนำไปดำเนินการจริงในพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ที่ NIA กำหนดภายในระยะเวลา 12 เดือน และขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆต่อไป 

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่อาจขาดความคล่องตัว จึงทำให้ภาคเอกชนหลายๆแห่งเข้ามาช่วยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาของสังคมมากขึ้นผ่านหน่วยงานต่างๆ เช่น มูลนิธิ สหกรณ์ องค์กรการกุศล รวมถึงวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบและแพลตฟอร์มเพื่อการขจัดอุปสรรคต่างๆทั้งปัญหาความยากจน สุขภาวะความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และมุ่งผลประโยชน์เพื่อสังคมและสาธารณะเป็นหลัก 

แต่อย่างไรก็ตาม แม้องค์กรเอกชนหลายๆแห่ง จะหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่การสร้างสรรค์เครื่องมือหรือระบบต่างๆในปัจจุบันนั้นก็ยังนับว่าเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากยังขาดการส่งเสริมปัจจัยที่จำเป็นจากหน่วยงานภาครัฐในระดับที่เพียงพอ เช่น การสนับสนุนเงินทุน การลดหย่อนภาษี รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรให้สามารถพัฒนานวัตกรรมให้เกิดการขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวนับเป็นความ ท้าทายที่จะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะต้องบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีการทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้นวัตกรรมเพื่อสังคมเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งเครื่องมือที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 

NIA ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานของรัฐที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทุนสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมนวัตกรรมให้เกิดขึ้น ด้วย 4 ขั้นตอนหลักตั้งแต่

  • การริเริ่มโครงการ ระบุปัญหาและช่องว่างของสังคม หาวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรม ตลอดจนคำนึงถึงกำไรสุทธิในเชิงผลกระทบต่อคน สิ่งแวดล้อม และการสร้างรายได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
  • การบ่มเพาะโครงการผ่านเครือข่ายทั้งผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยี พันธมิตรทางธุรกิจ และกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง
  • การดำเนินโครงการนำร่องเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ทั้งในเชิงธุรกิจเพื่อสังคม และผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคม ก่อนที่จะดำเนินการขยายผล
  • การขยายผลโครงการเพื่อแพร่กระจายนวัตกรรมเพื่อสังคมให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงนวัตกรรมทั้งในประเทศและระดับสากล

สำหรับโครงการโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2562 ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-0175555 และ www.nia.or.th/citychallenge

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Monday, 18 March 2019 06:34
อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

Author : เกาะติดข่าวในอุตสาหกรรมยานยนต์ Automotive อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์

รวมถึงเทคโนโลยีในด้านนั้นๆ

Latest from อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM