Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

IFR เผย ยอดขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลก พุ่ง 31%

ในการประชุม IFR CEO Roundtable ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี ได้มีการเปิดเผย ยอดขายทั่วโลกของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม มียอดอยู่ที่ 387,000 ยูนิตในปี 2017 ซึ่งเพิ่มขึ้น 31% เมื่อเทียบกับปีก่อน (2016: 294,300 ยูนิต) โดยประเทศจีนมีการเติบโตสูงที่สุดในหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 58% ยอดขายในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 6% ในเยอรมนีเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 

 

การเติบโตแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมของผู้ใช้หุ่นยนต์
ในปี 2017 มีการจำหน่ายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมไปยังผู้ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ประมาณ 125,500 ยูนิต ในส่วนนี้ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโต 21% สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงสุด คือ อุตสาหกรรมโลหะ เพิ่มขึ้น 55% อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 33% และอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้น 19%
 

ประเทศที่มียอดขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสูงสุด
ในแง่ของยอดขาย ภูมิภาคเอเชียมีตลาดที่แข็งแกร่งที่สุด ได้แก่ ประเทศจีนติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจำนวนประมาณ 138,000 ยูนิตในปี 2017 ตามมาด้วยประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนประมาณ 46,000 ยูนิต และเกาหลีใต้มีประมาณ 40,000 ยูนิต สำหรับตลาดในสหรัฐอเมริกามียอดขายประมาณ 33,000 ตัว และในประเทศเยอรมนีมียอดขายประมาณ 22,000 ยูนิต

 
ในขณะที่ประเทศเวียดนามมีการเติบโตของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากเพิ่มขึ้น 410% โดยมียอดขายที่ประมาณ 8,000 ยูนิต จนเป็นประเทศอันดับที่ 7 ที่มียอดขายสูงสุดในปีที่ผ่านมา

 
 

การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ จะเป็นตัวกำหนดอนาคต
"การเติบโตของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยังคงก้าวไปทั่วโลกอย่างน่าประทับใจ" Junji Tsuda ประธาน International Federation of Robotics กล่าว "แนวโน้มสำคัญ เช่น digitalisation การทำให้เข้าใจง่ายและการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ จะเป็นตัวกำหนดอนาคตและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างรวดเร็ว"

 


ด้วยยุคแห่งดิจิตอลเช่นนี้ ในกระบวนการผลิตจริงนั้นมีการเชื่อมโยงกับโลกของข้อมูลเสมือนมากยิ่งขึ้น โดยเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องผ่าน Machine Learning หุ่นยนต์จะได้รับทักษะใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ในเวลาเดียวกันอุตสาหกรรมเองกำลังทำงานเพื่อลดความยุ่งยากในการจัดการกับหุ่นยนต์ 

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในอนาคตควรจะง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ให้การโปรแกรมหุ่นยนต์เป็นขั้นตอนที่ใช้งานได้อย่างง่าย ๆ  เทคโนโลยีดังกล่าวไม่เพียงแต่จะน่าสนใจสำหรับผู้ใช้ที่มีทักษะแล้วเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่จะสามารถนำระบบอัตโนมัติไปใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนานี้ยังเป็นการปูทางสำหรับแนวโน้มสำคัญของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม คือ การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์โดยปราศจากเครื่องป้องกัน  ซึ่งจะนำเสนอแนวทางใหม่ ๆ ในกระบวนการผลิตที่มีความยืดหยุ่น

ในอนาคตความร่วมมือระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์จะสนับสนุนการผลิตให้มีความยืดหยุ่นในการผลิตปริมาณน้อย (Small Batch Production) และมีความซับซ้อนสูงได้

ที่มา : M Report

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 18 October 2018 16:38

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM