Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ไต้หวันรุก ตลาดหุ่นยนต์บริการ

ไต้หวันประกาศรุกตลาดหุ่นยนต์บริการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2019 โดยเริ่มจากตลาดประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น หุ่นยนต์บริการที่มีส่วนสูงใกล้เคียงมนุษย์ หุ่นยนต์บริการติดตั้งเครื่องอ่านบัตรเครดิต และอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของอุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในอนาคต ก่อนมุ่งหน้าตีตลาดประเทศอื่น ๆ ต่อไป

สู่พื้นที่สาธารณะ

SYSCOM ธุรกิจด้านการวางระบบค่ายไต้หวัน ประกาศส่ง “Ayuda” หุ่นยนต์บริการรุ่นล่าสุดของบริษัทเข้าสู่ตลาดภายในเดือนมิถุนายน 2019 ซึ่งจะเริ่มจากตลาดประเทศญี่ปุ่น จากนั้นจึงตามด้วยประเทศอื่น ๆ ถัดไป และคาดการณ์ว่าจะสามารถบุกตลาดประเทศอื่นได้อย่างเร็วที่สุดภายใน 1 ปีหลังจากเข้าตลาดญี่ปุ่นแล้ว โดยหุ่นยนต์บริการรุ่นนี้ มีฟังค์ชันในการสนทนาได้มากถึง 3 ภาษา คืออังกฤษ จีน และญี่ปุ่น โดย Ayuda มีรความสูงให้เลือก 3 ระดับ คือรุ่นสูง 160 ซม. 120 ซม. และ 100 ซม. เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในงานบริการรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม เช่น ใช้รุ่นสูง 160 ซม. ในงานรักษาความปลอดภัย หรือใช้รุ่นขนาดเล็กในห้องสมุด หรือสถานที่ที่มีเด็ก

นอกจากนี้ Ayuda ยังติดตั้งกล้องและระบบจดจำใบหน้าเอาไว้ และสามารถใช้ Ayuda ในการทำหน้าที่เปิดปิดประตู หรือสั่งให้พิมพ์เอกสารได้อีกด้วย โดยปัจจุบันได้มีออเดอร์จากสถานพยายาล ป้อมตำรวจ และห้องสมุดไต้หวันเข้ามาแล้ว

 

เน้นความรวดเร็ว


 

GEOSAT เอง ก็ได้วางแผนรุกตลาดหุ่นยนต์บริการญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน โดยใช้ “Xiaozhi” หุ่นยนต์บริการที่มีฟังค์ชันการอ่านบัตรเครติด และบัตรอื่น ๆ ด้วยการแตะบัตรเข้ากับส่วนหัวของหุ่นยนต์ แล้วแสดงผลผ่านหน้าจอที่ลำตัว ซึ่งปัจจุบัน เป็นหุ่นยนต์บริการที่ถูกใช้งานจำนวนหนึ่งตามโรงแรมในไต้หวัน

ผู้รับผิดชอบจากบริษัท GEOSAT ชี้แจงว่า Xiaozhi เป็นหุ่นยนต์บริการที่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วมาก และเหนือกว่า “Pepper” หุ่นยนต์ฮิมแมนนอยด์ของ SoftBank เสียอีก

 

ยกระดับการพักผ่อน


 

Industrial Technology Research Institute (ITRI) สถาบันวิจัยรัฐบาลไต้หวัน ประกาศพัฒนา “Genki Bot” หุ่นยนต์บริการขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพการพักผ่อนของผู้ใช้ดีขึ้น ด้วยอัลกอริธึมและ Artificial Intelligence (AI) ที่ความสามารถในการตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณคาร์บอนในอากาศ และอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการเปิดเพลง และใช้แสงสีช่วยผ่อนคลาย โดยส่วนหัวของ Genki Bot ได้ถูกตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายหมวกเกราะคะบุโตะของนักรบญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ของนักวิจัยชาวไต้หวัน กล่าวคือ “ในการนอนหลับ รูปทรงที่คุ้นเคยจะช่วยให้สามารถหลับได้สบายยิ่งขึ้น” จึงได้ตกแต่งให้มีรูปทรงเช่นนี้เพื่อตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ

ที่มา : M Report

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Friday, 19 October 2018 05:10

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM