Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ไทยตื๊อญี่ป่นร่วม รถไฟเร็วสูงเชียงใหม่ JICA ชี้ช่องทำให้คุ้มทุน

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ชี้แจงการดำเนินโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯเชียงใหม่ว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต

พร้อมปฏิเสธกระแสข่าวที่แพร่ข้อมูลผ่านสื่อว่าประเทศญี่ปุ่นจะไม่เข้าร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและซ่อมบำรุง เนื่องจากกังวลว่าจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

นายสราวุธ กล่าวว่า

ก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการ ท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 เสร็จเดือนพฤศจิกายน 2560

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ยังอยู่ระหว่างหารือรูปแบบการลงทุนโครงการร่วมกัน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากมีรายละเอียดหลายประเด็นที่ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและการซ่อมบำรุง

"เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 กระทรวงคมนาคมและ MLIT ได้มีการหารือร่วมกันอีกครั้งในการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม โดยฝ่ายไทย ยังยืนยันว่าฝ่ายญี่ปุ่นควรร่วมพิจารณาลงทุนกับฝ่ายไทย เนื่องจากผลการศึกษาของ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สรุปว่าต้องมีการ พัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางและพื้นที่รอบสถานี (TOD) ร่วมด้วย จึงจะเกิด ความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวต้องอาศัยประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญของญี่ปุ่น ดังนั้น การ ตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้รัฐบาลไทยจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ"นายสราวุธ กล่าว

ทั้งนี้ด้านงานบริหาร และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานียังคงมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต

นายสราวุธกล่าวว่า ฝ่ายไทยยังเสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาใช้รูปแบบการดำเนินงานลักษณะเดียวกับการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2558 ที่ลงทุนผ่าน Japan Oversea Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) โดยมอบหมายให้คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกันศึกษาและหารือรายละเอียดดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องการร่วมลงทุนในโครงการนี้ โดยเร็ว

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 24 January 2019 09:05
ชุติมา ธรรมเที่ยง

Author : เกาะติดข่าวขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ รวมไปถึงกระบวนการจัดการและวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ การควบคุม และศุลกากร

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM