Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
SC-Packaging & Paper-StripHead

UTP อัด 200 ล้านเพิ่มกำลังผลิต เตรียมบุกตลาดจีน

“บริษัท ยูไนเต็ด เปเปอร์ จำกัด (มหาชน)” หรือ UTP ชูแผนการลงทุนปี 63 ทุ่มงบกว่า 200 ล้านบาท ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรโรงงานปราจีนบุรี เตรียมเพิ่มกำลังการผลิตสู่ 240,000 ตัน รองรับฐานตลาดทั้งในต่างประเทศโดยเฉพาะจีน รุกรายได้ปีนี้สู่ 3 พันล้านบาท

นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด เปเปอร์ จำกัด (มหาชน)  หรือ UTP เปิดเผยว่า แผนลงทุนในปี 2563 บริษัทฯ ได้เตรียมงบประมาณราว 200 ล้านบาท สำหรับขยายกำลังการผลิต ส่วนเตรียมเยื่อที่ใช้ป้อนกระดาษ อีก 500 ตันต่อวัน จากเดิมอยู่ที่ 500 ตันต่อวัน เพื่อรองรับการทำกระดาษผิวกล่องให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายในไตรมาส 4 ของปี 63 นี้ โดยรวมถึงอยู่ระหว่างศึกษาเพิ่ม Boiler อีก 1 ตัว จากปัจจุบัน Boiler จำนวน 2 ตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

โปรเจคการพัฒนาและลงทุนของบริษัทในปี 2563 นี้

โดยการลงทุนในครั้งนี้ จะเป็นการปรับปรุงพัฒนาเครื่องจักรเดิมและติดตั้งเครื่องจักรใหม่ รวมถึงก่อสร้างโกดังขนาด 3,000 ตรม,เพิ่มแห่งที่ 3 ที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งทำให้สามารถเก็บสินค้าได้มากขึ้นอีก 6,000 ตัน จากเดิมเก็บได้ประมาณ 11,000 -12,000 ตัน เพียงพอต่อการรับรองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

“บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของลูกค้า เราจึงพยายามที่จะปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลาเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและเติบโตไปพร้อมกัน ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรจึงถือเป็นจำเป็นอย่างมาก"

เนื่องจากในแต่ละปีเราเดินเครื่องจักรกว่า 340 วัน จะหยุดแค่เฉพาะช่วงที่มีการซ่อมบำรุงประจำเดือนหรือปีเท่านั้น เราจึงต้องปรับปรุงเครื่องให้สามารถรองรับกำลังการผลิตตามความลูกค้าไม่ให้เสียโอกาสคู่แข่งในตลาดได้

สำหรับเป้ายอดขายกระดาษคราฟท์ในปี 2563 นี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 3,480 ล้านบาท หรือคิดเป็น 240,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยคาดว่าปริมาณขายกระดาษคราฟท์ จะอยู่ที่ 220,000 ตัน จากการเดินเครื่องกำลังการผลิตอย่างเต็มที่ หลังได้ปรับปรุงสิทธิภาพเครื่องจักรสำหรับการผลิตแล้ว โดยปัจจุบันบริษัทฯมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 260,000 ตันต่อปี ซึ่งผลิตภัณฑ์กระดาษของบริษัทฯจะขายในประเทศเป็นหลัก ส่วนที่เหลือจะส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งบริษัทตั้งเป้าดันยอดส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในอนาคต จากปัจจุบันอยู่ที่ 10%

โปรเจคการพัฒนาและการลงทุนของบริษัทในปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันการขายในประเทศจะขายให้กับบริษัทในเครือ 44%, บริษัทนอกเครือ 45% ส่วนที่เหลือเป็นการส่งออกไปในประเทศเวียดนาม เมียนมาร์ และประเทศอื่น ๆ โดยในปี 63 นี้ บริษัทฯมองการขยายการขายเข้าไปในประเทศจีน เนื่องจากปัจจุบันจีนไม่สามารถนำเข้าเศษกระดาษเข้าไปใช้ได้เพียงพอ และโรงงานกระดาษในจีนมีปัญหาจากมีวัตถุดิบไม่พอใช้ ทำให้มองว่าปีหน้ากระดาษม้วน น่าจะไม่พอใช้ และคาดจะมีการนำเข้าในปริมาณที่สูง ซึ่งบริษัทคาดหวังเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดในจีนต่อไป

 

สำหรับตลาดกล่องบรรจุภัณฑ์ในจีนได้รับผลกระทบจากราคากระดาษที่ผัวผวน และการบริโภคซึ่งได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ส่งผลให้ความสามารถในการกำหนดราคาของผู้ประกอบการต่ำ รวมถึงกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ส่งผลให้ความสามารถในการกำหนดราคาลดลงไปอีก เศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวส่งผลให้ผู้ผลิตในประเทศลดกำลังการผลิตลง จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปทำการตลาดมากขึ้น

ไทม์ไลน์แสดงการพัฒนาและการเติบโตของยอดขาย UTP ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

บริษัท ยูไนเต็ด เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ UTP ก่อตั้งในวันที่ 15 สิงหาคม 2533 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตกระดาษคราฟท์สำหรับอุตสาหกรรมหีบห่อและบรรจุภัณฑ์แบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ กระดาษคราฟท์สำหรับทำผิวกล่อง (Kraft Liner Board) และกระดาษคราฟท์สำหรับทำลอนลูกฟูก (Corrugating Medium) เพื่อจำหน่ายทั้งในไทยและต่างประเทศมานานกว่า 25 ปี มีโรงงานผลิตอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ด้วยกำลังการผลิตรวมกว่า 300,000 ตันต่อปี และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตราว 81% โดยกระดาษคราฟท์ที่ผลิตจะนำเยื่อกระดาษ เยื่อใยสั้นและยาว กระดาษรีไซเคิล แป้ง สีและสารเคมีต่างๆ ไปผ่านกระบวนการผลิต โดยมีกลุ่มชินเศรษฐวงศ์ ถือ 41% ของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด และกลุ่มมังกรกนกเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือหุ้น 10 %

ซึ่งจากการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อลูกค้าและผลิตภัณฑ์ ด้วยการบริหารองค์กร เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้ ล่าสุด บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 200 บริษัทมหาชนรายได้ต่ำกว่าพันล้านบาทที่ดีที่สุดในเอเชียประจำปี 2562 (Asia’s 200 Best Under A Billion 2019 ) จาก Forbes นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ยังได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มากมาย อาทิ มาตรฐาน ISO 9001 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก,) และภายในสิ้นปี 63 นี้จะได้รับรองมาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) อีกด้วย

 

อุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมหลายสาขา อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งต่างมีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษสำหรับห่อหุ้ม เก็บรักษา และขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ จึงทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์มีความสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการบริโภคและการลงทุนทั้งในภาครัฐและเอกชนที่ขยายตัว รวมทั้งจากธุรกิจ E-Commerce ที่มีแนวโน้มเติบโตจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้ความนิยมใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษ เพื่อทดแทนจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมกระดาษคราฟท์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 21 May 2020 04:49
รสริน พัชรโยธิน

Author : ขาลุย นักข่าวภาคสนาม เกาะติดข่าวสารด้าน Manufacturing ทั้งอุสาหกรรมเหล็ก ซีเมนต์ สี เคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก แร่และโลหะ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้างต่างๆ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM