Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
Srivisal-strip-Glass & Plastic-Strip-Head

BGC ชูลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เปิดศูนย์ R&D เร่งต่อยอดธุรกิจใหม่ กางแผน 5 ปี ปักเป้าปี 68 รายได้พุ่ง 2.5 หมื่นล้าน

บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC ในเครือบางกอกกล๊าส ปรับกลยุทธ์เน้นการให้บริการด้วย 4 ปัจจัยหลัก การออกแบบ-พัฒนาผลิตภัณฑ์ ,คุณภาพระดับสากล ,ให้คำปรึกษากับลูกค้าในทุกโอกาส และการจัดเก็บและการจัดส่งสินค้า ควบคู่กับการพัฒนาทีมงานให้มีศักยภาพรอบด้าน เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร วางเป้าธุรกิจบรรจุภัณฑ์ มุ่งสู่การเป็น “โทเทิล แพคเกจจิ้ง โซลูชั่น” (Total Packaging Solution)

นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด เปิดเผยว่า แผนการลงทุนของบริษัทนับจากนี้ อยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องราคาซื้อกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับบรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศประมาณ 2-3 ดีล มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 2-3 พันล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปอย่างเร็วที่สุดปลายปีนี้ หรือหากเลื่อนไปก็เป็นช่วงปี 2564 ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ว่าจะเป็นอย่างไร แนวโน้มยอดขายบรรจุภัณฑ์แก้ว ช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะพลิกกลับมาเป็นบวก หลังจากที่หดตัว 25% ในช่วงไตรมาส 2/63 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลาย ทำให้เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ผลักดันให้ยอดขายบรรจุภัณฑ์แก้วเริ่มฟื้นตัวขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ยอดขายรวมพลิกเป็นบวกได้มากนักในปีนี้ โดยคาดการณ์ว่ายอดขายรวมทั้งปี 2563 นี้ จะทรงตัวจากระดับ 1.13 หมื่นล้านบาทในปีก่อน หรือลดลงเล็กน้อย

ปัจจุบันแนวโน้มของยอดขายบรรจุภัณฑ์แก้วของบริษัทเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหลังจากภาครัฐคลายมาตรการล็อกดาวน์ จากที่ติดลบไปมากที่สุดในช่วงเดือนเม.ย.ที่ -30% เนื่องจากลูกค้าเริ่มกลับมาสั่งผลิตขวดแก้ว และขวดบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น หลังจากลูกค้าสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้นกว่าในช่วงล็อกดาวน์ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และซอฟท์ดริ้งก์ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท ในขณะที่ตลาดลูกค้าต่างชาติก็ได้เริ่มทยอยกลับมาสั่งซื้อขวดแก้วและบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น

สำหรับการเข้าซื้อกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับบรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศถือเป็นการขยายการเติบโตของบริษัทและเป็นการกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจที่มีการกระจายฐานลูกค้าออกไปในหลากหลายประเทศมากขึ้น และบริษัทยังได้คาดหวังการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศมากกว่า 10% โดยที่ปัจจุบันกลุ่มลุกค้าหลักของบริษัทในต่างประเทศจะอยู่ในประเทศสหรัฐฯ 39% กลุ่มประเทศ CLMV 35% อินเดีย 10% ยุโรป 10% และออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ 6% ประกอบกับบริษัทมองถึงโอกาสในการขยายกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อต่อยอดเข้าไปขยายฐานลูกค้าในกลุ่มยาเวชภัณฑ์และอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและมีมาร์จิ้นสูง

โดยบริษัทจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,489.24 ล้านบาท จากเดิม 3,472.22 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นใหม่ 403.4 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 5 บาท แบ่งการจัดสรร 245.1 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการเข้าซื้อหุ้น 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท บางกอกบรรจุภัณฑ์ จำกัด, บริษัท บีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด และ บริษัท กบินทร์บุรีกล๊าส อินดัสทรี จำกัด รวมถึงใช้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อเสริมสภาพคล่องและความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัท และเป็นแหล่งเงินทุนที่สำหรับแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการในอนาคต โดยการเพิ่มทุนในครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นของบริษัทอีกด้วย

สำหรับกลยุทธ์หลังจากนี้ บริษัทฯ ยังมองหาโอกาสเติบโตทั้งในธุรกิจใหม่ๆ ต่อยอดจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว และพลังงานหมุนเวียน ด้วยการวางเป้าธุรกิจบรรจุภัณฑ์ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “โทเทิล แพคเกจจิ้ง โซลูชั่น” (Total Packaging Solution)

ส่วนธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 300-400 เมกะวัตต์ ภายใน 5 ปี และบีจีซียังให้ความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจอย่างรอบด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวต่อไป

กลยุทธ์ดังกล่าวจะเน้นการให้บริการใน 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.การออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. เน้นคุณภาพระดับสากล 3.ให้คำปรึกษากับลูกค้าในทุกโอกาส และ 4.การจัดเก็บและการจัดส่งสินค้า ควบคู่กับการพัฒนาทีมงานให้มีศักยภาพรอบด้าน เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร รวมถึงมุ่งขยายฐานการส่งออกให้กับลูกค้าที่มีอัตรากำไรดี เช่น กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาแพง กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยา เป็นต้น

“จากวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ บริษัทฯ มีลูกค้าในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้บริษัทฯ ต้องพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์ รวมถึงวางแผนบริหารจัดการ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าอย่างดีที่สุด โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 รายได้ของบริษัทฯ ยังคงเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ในไตรมาสที่ 2 กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ อย่างธุรกิจเบียร์ มียอดขายลดลง เนื่องจากผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งตอนนี้ก็ได้มีการปลดล็อกมาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้น บริษัทฯ คาดว่าจะทำให้ยอดขายกลับมาดีขึ้น โดยในส่วนนี้บริษัทฯ จะต้องคอยติดตามและบริหารจัดการการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอย่างใกล้ชิด” นายศิลปรัตน์ กล่าว

ล่าสุดบริษัทฯได้เปิดตัวศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม Technology and Innovation Center (TIC) แห่งใหม่ ตั้งอยู่ภายในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นศูนย์กลางในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนา ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเพิ่มศักยภาพของบริษัทฯในการรองรับการพัฒนาโมเดลธุรกิจสู่ Total Packaging Solutions ที่จะสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายในช่วง 5 ปีนับจากนี้ 

นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กล่าวว่า "จากนโยบายบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ TIC จะเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาเทค โนโลยีและนวัตกรรม และเปิดรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำในไทยและต่างประเทศ เพื่อต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้านบรรจุภัณฑ์และนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิต ตอบสนองความต้องการตลาดและรองรับการพัฒ นาโมเดลธุรกิจเป็น Total Packaging Solutions

ปีนี้ BGC เตรียมเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจหลักอย่างบรรจุภัณฑ์แก้ว ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ ‘Bringing Good Value to Everyone Everyday’ หรือการเป็นผู้นำที่ส่งคุณค่าสู่ทุกคน ในทุกวัน ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ภายใต้พันธกิจที่จะส่งมอบคุณค่าสู่ทุกฝ่าย ทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน รวมถึงสังคมและโลกของเรา อีกทั้งด้วยโมเดลธุรกิจที่มุ่งสู่การเป็น Total Packaging Solutions หรือผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร ด้วยกลยุทธ์การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition: M&A) ซึ่งจะสามารถสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว (Inorganic Growth) โดยเน้นการควบรวมแนวตั้ง (Vertical Integration) หรือลงทุนในบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกับบรรจุภัณฑ์แก้ว เพื่อให้ธุรกิจมีความครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจผลิตฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET หลอดพรีฟอร์ม ไปจนถึงกล่องกระดาษลูกฟูก โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะเติบโตกว่าเท่าตัว ภายใน 5 ปี จากรายได้ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 11,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท ในปี 2568 ทั้งนี้ BGC มีแผนเข้าลงทุนล็อตแรกใน 2 บริษัท รวมเป็นเงินลงทุนประมาณ 1,650 ล้านบาท
  • บจ.บีจี แพคเกจจิ้ง (BGP) ผู้ผลิตฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET และหลอดพรีฟอร์ม (เข้าซื้อ 100%)
  • บจ.บางกอกบรรจุภัณฑ์ (BVP) ผู้ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก มีกำลังการผลิตประมาณ 5 หมื่นตันต่อปี (เข้าซื้อ 100%)

เส้นทางธุรกิจ BGC และเป้าหมายปี 2568

ธุรกิจหลักของบริษัทคือการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขวดแก้ว โดยมีกำลังผลิตรวม 5 โรงงาน ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี และครองส่วนแบ่งประมาณ 40% ของอุตสาหกรรมขวดแก้ว ถือเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งฐานลูกค้าหลักคือเครือบุญรอดประมาณ 50% (4-5 แสนตัน) อีก 25% มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้น อาทิ กรีนสปอร์ต กระทิงแดง ไทยน้ำทิพย์ เป็นต้น อีก 10% เป็นลูกค้าทั่วไปในประเทศ และอีก 15-16% เป็นการส่งออกไปต่างประเทศทั้งเวียดนาม ออสเตรเลีย อินเดีย ยุโรป รวมถึงสหรัฐอเมริกา

สำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว บีจีซีได้เดินหน้าอัพเกรดโรงงานทั้ง 5 แห่งที่ จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดราชบุรี ด้วยกำลังผลิตรวม 3,495 ตันต่อวัน หรือประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ให้เป็นโรงงาน 4.0 ด้วยนวัตกรรม เช่น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อรับมือปัญหาขาดแคลนแรงงานและเพิ่มคุณภาพสินค้าไปพร้อมกัน รวมถึงตั้งเป้าลดการใช้แรงงานคนจาก 200 คนต่อเตา เหลือ 20-30 คน และจะพยายามให้เป็นโรงงานอัตโนมัติในอนาคต ส่วนคนงานจะยกระดับขึ้นเป็นผู้คุมเครื่องจักรแทน พร้อมขยายตลาดขวดแก้วบรรจุอาหารและการส่งออกให้มากขึ้น เนื่องจากมีสัดส่วนกำไรสูง โดยวางเป้ารายได้ส่งออกไว้ที่ 20% เพื่อบาลานซ์กับตลาดในประเทศต่อไป

อนึ่ง นอกจากเรื่องธุรกิจ การส่งเสริมสนับสนุนด้านการกีฬาก็เป็นปีที่ BG ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ เนื่องด้วยทีมฟุตบอล "บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" เป็นทีม ‘บลู แมชชีน’ หรือเครื่องจักรสีน้ำเงิน สร้างปรากฏการณ์สุดตลึงในวงการฟุตบอลไทย จากทีมตกชั้นสู่การเป็นแชมป์ไทยลีกในเวลา 2 ปี แชมป์ซึ่งถือเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยแรกของสโมสร และเป็นแชมป์ประวัติศาสตร์ของไทยพรีเมียร์ลีกเนื่องจากได้แชมป์เร็วที่สุด โดยที่ยังเหลือเกมการแข่งขันอีก 6 นัด โดยที่ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ยังมีโอกาสสร้างตำนานขั้นสุดยอดด้วยการคว้าแชมป์แบบไร้พ่าย นับว่าเป็นสโมสรที่ได้แชมป์ลีกสูงสุดของไทยเร็วที่สุดหลังใช้เวลาในการก่อตั้งสโมสรเพียงแค่ 12 ปีเท่านั้น ความสำเร็จนี้จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และจะยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีกเมื่อหวนมองย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พวกเขาอยู่ในจุดตกต่ำที่สุดถึงขั้นตกชั้นไปเล่นในระดับไทยลีก 2 ซึ่งหมายถึงพวกเขาใช้เวลา 1 ปีในการกลับมา และอีก 1 ปีสู่แชมป์ การคืนชีพที่ยิ่งใหญ่ราวกับนกฟีนิกซ์ที่เผาไหม้และกลับมีชีวิตใหม่จากเถ้าถ่านอีกครั้ง เกิดขึ้นได้ที่ผู้บริหารของสโมสรมีความตั้งใจจริงในการทำทีม ซึ่งวัดได้จากช่วงวิกฤตทีมตกชั้นที่มีจุดยืนชัดเจนในการรักษาแกนหลักของทีมเพื่อจะกลับมาเลื่อนชั้นให้ได้เร็วที่สุด และยังอนุมัติงบมากมายมหาศาลในการเสริมทัพผู้เล่น ทั้งๆ ที่เป็นช่วงที่สโมสรทุกแห่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนทำให้แฟนบอลไม่สามารถกลับเข้าสนามได้เหมือนยามปกติ ระหว่างนั้นทีมก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยการเปลี่ยนชื่อสโมสรใหม่จาก "บางกอกกล๊าส เอฟซี" มาเป็น "บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับท้องถิ่นมากกว่าจะยึดติดกับบริษัท (ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่แม้แต่ลีกจีนเองก็มีกฎแบบเดียวกันทำให้หลายๆ ทีมต้องเปลี่ยนชื่อกันยกใหญ่) เรียกได้ว่าเป็นการบริหารที่เริ่มต้นจากความรัก ความเข้าใจ และอยู่บนวิสัยทัศน์ที่ดี แน่นอนว่าความสำเร็จดังกล่าวส่งผลทางบวกต่อธุรกิจ และเพิ่มมูลค่าในแบรนด์ "BG" ในเวทีเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก เสริมการปั้นแบนด์สู่สากล ซึ่งสอดคล้องกับการตลาดของบริษัทที่มีการวางธุรกิจที่มีการกระจายฐานลูกค้าออกไปในหลากหลายประเทศ



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 22 April 2021 06:06
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM