Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

STEC ปรับกลยุทธ์รุกธุรกิจใหม่ โชว์ Backlog กว่าแสนล้าน ลงนามใช้ประโยชน์ “สนามบินอู่ตะเภา”

บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ปรับกลยุทธ์รับงานเอกชนมากขึ้น เร่งเข้าถึงธุรกิจใหม่ขยายฐานรายได้ มองโอกาสรับงาน Recurring Income มากขึ้น เป้างานใหม่ 4 หมื่นล้านบาท พร้อมชูงานในมือ (Backlog) กว่า 1 แสนล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ภายใน 3-4 ปีนี้

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานคาดว่าบริษัทฯ จะมีรายได้เติบโต 10%ในปี 2565 นี้ โดย เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีรายได้ 27,930 ล้านบาท โดยบริษัทฯ สามารถเข้าพื้นที่งานก่อสร้างในโครงการต่างๆ ได้มากขึ้น หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด – 19 คลี่คลาย โดยปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) ยังคงอยู่ในระดับ 100,000 ล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ 3-4 ปี ระหว่างปี 2566-2570 และจากBacklog ที่มีอยู่ในจำนวนมากนี้ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานในปี 2566 บริษัทฯ จะมีรายได้เติบโตมากกว่าปีนี้แน่นอน

ทั้งนี้แม้ภาพรวมรายได้ปีนี้จะมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น แต่ต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 10-20% นั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อกำไรปีนี้ รวมทั้งตอนนี้ภาวะการขาดแคลนแรงงานเป็นอีกผลกระทบหนึ่งที่ต้องแก้ปัญหา ซึ่งบริษัทฯ จะพยายามนำเข้าแรงงานต่างด้าว แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะผ่อนปรนได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงมีการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งในอนาคตก็ต้องเพิ่มเครื่องจักร และการเปิดทำงานล่วงเวลา เพื่อชดเชยการขาดแคลนแรงงาน โดยช่วงครึ่งปีหลังบริษัทจะมีการเข้าไปรับงานภาคเอกชนมากขึ้น อาทิ งานก่อสร้างอาคาร งานขยายโรงงาน ซึ่งจะมีออกมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการเจรจาที่จะรับงานเอกชนขนาดใหญ่อยู่ด้วย หากได้รับงานดังกล่าวก็จะสนับสนุนงานในมือให้เพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มงานที่มาร์จิ้นสูงอีกด้วย

คาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถลงนามในสัญญางานใหม่ได้ตามเป้าหมายที่ 4 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มูลค่างานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นโดยคาดว่าอาจแตะที่ 150,000 ล้านบาทภายในสิ้นปี 2565 นี้

“ปีนี้เรายังคงเป้าหมายการรับงานที่ 4 หมื่นล้านบาท แต่ก็ต้องติดตามงานที่จะออกในช่วงปลายปี เพราะขณะนี้ก็อาจจะมีความล่าช้าไปบ้างในหลายโครงการ แต่เชื่อว่าการรับรู้จะทำได้อย่างน้อยตามเป้าหมายการรับรู้รายได้ หรือไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาระดับงานในมือด้วย แต่การรับงานของบริษัทจะเน้นงานที่มีคุณภาพมากขึ้น การรับงานที่มีมาร์จิ้นสูง ที่ผ่านมาบริษัทก็เดินหน้าเรื่องนี้ และพยายามที่จะหาธุรกิจใหม่เข้ามาเสริมด้วย เพื่อกระจายฐานรายได้ เพราะธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมีความผันผวน มีปัจจัยกดดันบ้าง” นายภาคภูมิ กล่าว

สำหรับการประมูลงานในปี 2565 นี้ทั้งงานส่วนของภาครัฐ และเอกชน ปัจจุบันมีงานที่บริษัทฯ ชนะการประมูลและได้ลงนามในสัญญางานก่อสร้างเข้ามาเพิ่มแล้วรวมกว่า 20,000 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถลงนามในสัญญางานใหม่ได้ตามเป้าหมายที่ 4 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มูลค่างานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นโดยคาดว่าอาจแตะที่ 150,000 ล้านบาทภายในสิ้นปี 2565 นี้

โดยบริษัทฯพยายามที่จะปรับตัว ทั้งการลดต้นทุน การใช้อุปกรณ์ที่สำเร็จรูปมากขึ้น การเจรจากับภาคเอกชนถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เข้าใจถึงต้นทุนส่วนเพิ่ม ส่วนงานภาครัฐอยากให้มีการพิจารณาในเรื่องของค่า K เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทก็จะไม่ได้เข้าไปแข่งขันด้านราคามีการเลือกรับงานที่มีคุณภาพมากขึ้น เน้นงานที่มีมาร์จิ้นสูง และเชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ จะดีขึ้น ตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นที่ระดับ 7% จากปัจจุบันระดับ 4% ภายใน 1-2 ปีนี้ รวมไปถึงการหากธุรกิจใหม่เข้ามาเสริมอีกด้วย

ส่วนการประมูลงานโครงการของภาครัฐต้องยอมรับว่าขณะนี้มีความล่าช้าไปบ้าง แต่บริษัทยังสนใจติดตามอยู่หลายโครงการ ทั้งโครงการสัมปทานต่างๆ ของภาครัฐ ทั้ง กรมทางหลวง การทางพิเศษ การประมูลโครงการก่อสร้างระดับใหญ่ของราชการ และการประมูลโครงการรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ เป็นต้น แต่ทั้งนี้การเข้าไปรับงานของบริษัทจะพยายามเข้าไปรับการในส่วนของการบำรุงรักษา (Maintenance) การดูและระบบ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ที่เป็นรายได้ประจำ (Recurring Income) ด้วย เพราะต้องยอมรับว่างานก่อสร้างค่อนข้างมีความผันผวน ทั้งการประมูลโครงการ ต้นทุนการก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงต้นทุนค่าแรงงาน ที่ขณะนี้มีการปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำในอัตรา 5-8% ซึ่งบริษัทมีแรงงานที่รับอัตราค่าแรงขั้นต่ำกว่า 70% ทำให้ได้รับผลกระทบในส่วนนี้บ้าง แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย ปรับขึ้นในอัตราที่ยอมรับได้ และก็เข้าในถึงสถานการณ์เรื่องของค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ที่ปรับเพิ่มขึ้นในขณะนี้

“โครงการเมกะโปรเจคในปี 2566 ของภาครัฐนั้น เรามองว่าต้องติดตามการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ว่าพรรคใดจะได้เป็นรัฐบาล ซึ่งการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่อาจจะส่งผลต่อการประกวดราคาโครงการให้ล่าช้าออกไปบ้าง แต่เชื่อว่ารัฐยังคงต้องใช้เรื่องการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งตนเชื่อว่ามูลค่าโครงการที่ภาครัฐจะออกมาประกวดราคาในปีหน้าจะไม่น้อยไปกว่าปีนี้ และโดยปกติภาครัฐจะประกาศลงทุนอยู่ในระดับ 5-6 แสนล้านบาทต่อปี” นายภาคภูมิ กล่าวทิ้งทาย

การลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการใช้ประโยชน์ “สนามบินอู่ตะเภา” กองทัพเรือ และ “สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา”

วันที่ 21 กันยายน 2565 ณ ห้องวุฒิไชยเฉลิมลาภ ชั้น 2 อาคารราชนาวิกสภา ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้แทนจากกองทัพเรือ และคุณคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร ผู้แทนจากบริษัท UTA ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการใช้ประโยชน์ “สนามบินอู่ตะเภา” กองทัพเรือ และ “สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา” ตามโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกร่วมกัน (Joint Use Agreement: JUA) ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (บริษัท UTA) โดยมี พลเรือเอก ภราดร พวงแก้ว ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ คุณธาริศร์ อิสสระยั่งยืน รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และคุณภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการบริหาร ผู้แทนบริษัท UTA ลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ เป็นพยาน

ซึ่งในส่วนของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมี คุณวรัช กุศลมโนมัย รองกรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ, คุณอรรถสิทธิ์ ศิริสนธิ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม, คุณรุ่งโรจน์ นาคนวล ผู้จัดการแผนกสื่อสารองค์กร เข้าร่วมพิธีลงนามฯ

การลงนามในครั้งนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย ให้เติบโตขึ้นอย่างมากและเป็นที่รู้จักทั่วโลก ผ่านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีให้กับภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ขยายการลงทุนมาสู่พื้นที่อีอีซี ทำให้เกิดการสร้างรายได้และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะการเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation" รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของ “มหานครการบินภาคตะวันออก" เพื่อสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการ ให้เกิดเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศไทย

ซิโน-ไทย คืนกำไรสู่สังคม

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้จัดพิธีมอบ “อาคารชาญวีรกูลที่ 70” ซึ่งเป็นอาคารเรียนสำหรับเด็กชั้นอนุบาล ขนาด 2 ห้องเรียน 1 โซนห้องน้ำ ให้แก่โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ภายใต้โครงการ “ซิโน-ไทย คืนกำไรสู่สังคม” โดย คุณภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และพนักงาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.อรวรรณ แสงสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 เป็นตัวแทนรับมอบอาคารฯ นอกจากนี้ยังมอบทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียน และอุปกรณ์กีฬา เพื่อให้ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน สร้างเด็ก เยาวชน ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

คุณภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า “โครงการ “ซิโน-ไทย คืนกำไรสู่สังคม” ดำเนินการมากว่า 20 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เด็กทุกคนต้องมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการจัดสร้าง อาคารเรียน อาคารห้องสมุด และอาคารเอนกประสงค์ ในชื่อของ “อาคารชาญวีรกูล” เพื่อมอบให้กับโรงเรียนที่มีความขาดแคลนในถิ่นทุรกันดาร รวมถึงโรงเรียนที่มีความจำเป็นแต่ขาดงบประมาณในการก่อสร้างโดยอาคารหลังแรกที่เราได้จัดสร้างและส่งมอบ เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2545 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทฯ ดำเนินกิจการมาครบรอบ 40 ปี จนถึงปัจจุบันบริษัทฯ ได้ส่งมอบอาคารต่างๆ ไปแล้วทั่วประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 69 โรงเรียน และปีนี้เป็นปีที่บริษัทฯ ดำเนินกิจการมาครบ 60 ปี เราจึงได้จัดสร้างอาคารชาญวีรกูลที่ 70 เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ จ.นนทบุรี ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการศึกษาของประเทศไทย”

บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นดำเนินโครงการ “ซิโน-ไทยฯ คืนกำไรสู่สังคม" อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการศึกษาและให้โอกาสแก่เยาวชนไทย ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป
“60 ปี ซิโน-ไทย 6 ทศวรรษแห่งรากฐานอันมั่นคง แข็งแกร่ง”



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 02 March 2023 12:21
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM