Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

โดย : ห้างหุ้นส่วนจำกัด กันติชา (KANTICHA LIMITED PARTNERSHIP. )

เสาเข็ม แบบที่ใช้การ ตอกลงไปในพื้นดิน เป็นรูปแบบของเสาเข็มที่มีคนนิยมใช้งานกันมากที่สุดแบบหนึ่ง เนื่องจากใช้งานง่าย ราคาไม่สูง และมีความแข็งแรง แต่อย่างไรก็ดี ในการเลือกใช้งานเสาเข็ม ก็มักพบคำถามอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่อง ความยาวของเสาเข็ม ที่เราควรจะเลือกมาใช้ ซึ่งโดยทั่วไปจะถามกันว่าควรจะตอก "เสาเข็มลึกเท่าไหร่ดี" เพราะเมื่อทราบระดับความลึก ก็จะสามารถนำมาประมาณขนาดความยาวของเสาเข็มที่เราจะเลือกสั่งหรือซื้อเพื่อนำมาใช้ตอกได้ ประเด็นนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด กันติชา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตเสาเข็มและตอกจึงขอแนะนำดังนี้

"ก่อนจะตัดสินใจเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เสาเข็มเป็นส่วนล่างสุดของโครงสร้างบ้าน (โดยทั่วไปมักเรียกรวมกับฐานรากว่าเป็นฐานรากแบบมีเสาเข็ม) ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านไว้ โดยปกติแล้วบ้านที่มีฐานรากที่วางอยู่บนดิน และไม่มีเสาเข็มรองรับน้ำหนักของบ้านเรียกว่าฐานราก แผ่ จะมีการทรุดตัวมากกว่าบ้านที่ใช้ฐานรากแบบมีเสาเข็มซึ่งจะช่วยทำให้เกิดแรงต้านน้ำหนักของบ้านเพื่อชะลอการทรุดตัวได้ดีกว่า เพราะมี "แรงต้าน" ที่มาจากชั้นดิน 2 ส่วนคือ

  • แรงเสียดทาน (หรือแรงยึดเหนี่ยว) ของดินชั้นบน (Friction) ส่วนใหญ่จะเป็นดินเหนียว ลองจินตนาการถึงการนำไม้ปักลงในดิน หากปักลึกลงไประดับหนึ่งจะเริ่มเกิดความฝืดกดลงได้ยากขึ้น นั่นเป็นเพราะไม้ถูกต้านด้วยแรงเสียดทานของดิน หลักการทำงานของเสาเข็ม ก็เช่นเดียวกันคือ จะพึ่งแรงเสียดทานของดินชั้นบนเป็นตัวพยุงรับน้ำหนักบ้านไม่ให้ทรุดตัวลง (ความเอียงเกิดจากการทรุดตัวของแต่ละฐานไม่เท่ากัน)
  • แรงต้านจากชั้นดินแข็ง (Bearing) กรณีเสาเข็มยาวลึกไปจนถึงชั้นดินแข็ง นั่นหมายถึงว่าเสาเข็มจะวางอยู่บนชั้นดินแข็ง จะทำให้ความสามารถการรับน้ำหนักของเสาเข็มได้ดีขึ้น และโอกาสการทรุดตัวของตัวบ้านจะมีน้อยลงและช้าลง
    หลักการสร้างบ้านโดยทั่วไป ควรใช้เสาเข็มให้ยาวลึกถึงชั้นดินแข็งจะได้แรงต้านทั้งสองส่วนช่วยพยุงให้บ้านมีความมั่นคงแข็งแรกว่า สำหรับบ้านที่มีเสาเข็มยาวไม่ถึงชั้นดินแข็ง ย่อมหมายถึงว่าน้ำหนักของบ้านจะมีเพียงแรงเสียดทานของดินชั้นบนรองรับเท่านั้น การทรุดตัวจึงเกิดขึ้นมากและเร็วกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นที่ดินที่เพิ่งถมมาไม่เกิน 1-2 ปี หรือที่ดิน ซึ่งเคยเป็นบ่อหรือบึงมาก่อน แรงเสียด ทานจะยิ่งน้อย อัตราการทรุดตัวก็จะยิ่งเร็วตาม 
    กรณีของดินในกรุงเทพฯ มีลักษณะชั้นดินเป็นดินเหนียวที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม และมีความลึกประมาณ 15-23 เมตร แต่จะมีความลึกมากขึ้น บริเวณสมุทรปราการซึ่งมีความลึกของชั้นดินกว่า 28 เมตร
    วิธีการคิดคำนวณขนาดของฐานรากแผ่ คือเราต้องรู้ค่าการรับน้ำหนักของดินว่ารับน้ำหนักได้เท่าไรต่อพื้นที่สัมผัส ตัวอย่างเช่น ดินรับน้ำหนักได้ 5 ตัน/ตร.ม. และมีแรงกดลงที่ฐานรากซึ่งเกิดขึ้นจากโครงสร้างของอาคารเท่ากับ 10 ตัน ดังนั้น จะต้องทำฐานรากให้มีพื้นที่ผิวขนาด 2 ตร.ม. เป็นต้น

ในการสร้างบ้านถ้าใช้เสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งและถ้ามีการต่อเติมห้อง ครัวและโรงจอดรถฯลฯการต่อเติมถ้าทำได้ควรจะใช้เสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งด้วยเช่นกันเพื่อป้องกันการทรุดตัวที่แตกต่างกันระหว่างโครงสร้างเก่าและโครงสร้างใหม่ แต่ในทางปฏิบัติมักจะมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ เพราะการตอกเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งอาจต้องใช้พื้นที่และเครื่องตอกขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้เสาเข็มกับส่วนต่อเติมไม่ว่า จะเป็นเสาเข็มสั้น หรือเสาเข็มยาวที่ลงลึกถึงชั้นดินแข็งนั้น มีเทคนิคและข้อพิจารณาตามแต่ละกรณีดังนี้

กรณีการใช้เสาเข็มสั้นกว่าอาคารเดิมซึ่งมีการใช้เสาเข็มยาวถึงชั้นดินแข็งในการต่อเติมอาคารใหม่จะทำให้ส่วนต่อเติมทรุดตัวมากกว่าอาคารเดิม และในกรณีพื้นที่จำกัดมากและเลือกใช้เสาเข็มยาวเท่ากับอาคารเดิมอาจเลือกใช้เสาเข็มเจาะ (Bore Pile) แบบ ”สามขา” หรือใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงซึ่งมีขนาดสั้น (Pre-stressed Micro Pile)ตามลักษณะพื้นที่หน้างานมีความยาวประมาณตั้งแต่ 1.0 เมตร โดยสามารถนำมาตอกต่อกันเพื่อตอกให้ลึกไปถึงชั้นดินแข็งได้

ถ้าสามารถแยกโครงสร้างของส่วนต่อเติมจากโครงสร้างเดิมได้ควรกระทำถึงแม้จะใช้เสาเข็มขนาดความยาวเดียวกับอาคารเดิมเพราะเป็นการ ป้องกันการดึงรั้งกับโครงสร้างเก่าจนเกิดการทรุดตัวแบบเอียง"

นี่เป็นความเห็นจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ในคำถามว่า ควรตอก เสาเข็มลึกเท่าไหร่ดี ซึ่งหากกล่าวโดยสรุปก็คือ ควรที่จะต้องตอกเสาเข็มลงไปจนถึงชั้นดินแข็ง เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง และแต่ละพื้นที่ ชั้นดินแข็งอยู่ลึกตื้นไม่เท่ากัน หากต้องการทราบอย่างชัดเจน จะต้องมีการตรวจสอบวิเคราะห์ชั้นดินในพื้นซึ่งจะมีการก่อสร้างเสียก่อน ซึ่งก็จะทำให้ทราบได้อย่างชัดเจนว่าควร เลือกเสาเข็มยาวแค่ไหน และต้องตอกลงไปลึกเท่าไหร่ จึงจะถึงชั้นดินแข็ง ที่จะทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงสำหรับอาคารของเรา

Rate this item
(3 votes)
Last modified on Saturday, 25 May 2019 09:35
บัญชา สมพงษ์สวรรค์

Author : เกาะติดเรื่องราวต่างประเทศ, การท่องเที่ยวต่างแดน, ข่าวในญี่ปุ่น, ข่าวในเกาหลี, สายการบิน, ศิลปะวัฒนธรรม, Likestyle, ไอเดียใหม่, เทคโนโลยีและสินค้าใหม่ๆ, ต่างชาติมองไทย ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM