Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

สุระชัยบรรทุกสัตว์ปีก ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสัตว์ปีก

โดย : ศุทธดา ศิริกรโสภณ

ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารส่งออก ถือเป็นธุรกิจที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างมหาศาล การขนส่งสินค้าประเภทนี้มีข้อจำกัดมากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้คงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภทสิ่งมีชีวิต อย่างเช่นการขนส่งไก่เข้าโรงงานแปรรูป เป็นต้น ฉบับนี้เราขอพาท่านผู้อ่านมาสัมผัสผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารส่งออกหลายๆเจ้า ว่าเขามีวิธีการรักษามาตรฐานและคุณภาพในการบริการได้อย่างไร จึงสามารถยืนหยัดครองใจผู้ผลิตไก่ส่งออกมาได้นานกว่า 40 ปี

ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสัตว์ปีก

อาชีพหลักของเราคือรถขนส่งไก่ให้กับ ซีพี คาร์กิล และเบทาโกร ซึ่งน่าจะเป็นผู้ผลิตไก่สดส่งออกรายใหญ่ที่สุดในประเทศก็ว่าได้ ย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว คุณพ่อได้ทำธุรกิจวิ่งรถขนส่งอาหารไก่ให้กับทางซีพี ต่อมาจึงได้มีโอกาสเข้ามาวิ่งรถขนส่งไก่เป็นจากฟาร์มเข้าไปสู่โรงงานแปรรูปเป็นไก่สด แล้วแต่ว่าซีพีไปปล่อยไก่ที่ไหน เราก็ต้องตามไปเก็บไก่เข้าโรงงาน ภายหลังซีพีได้ขยายโรงงานมาที่แก่งคอยเราก็ตามมาด้วย เพราะลักษณะงานของรถขนส่งไก่นั้น ต้นทางคืออยู่ที่ฟาร์ม ปลายทางก็คือต้องกลับมาที่โรงงาน เราจึงต้องสร้างอู่ไว้ใกล้ๆโรงงาน ปัจจุบันนี้เราก็มีอู่อยู่ 4 แห่ง คือชลบุรี แก่งคอย โคราชและลพบุรี  

เปิดอู่ซัพพอร์ทรถในธุรกิจ

โดยปกติรถที่วิ่งไก่จะมีช่วงยาวกว่ารถบรรทุกปกติ เวลาเราซื้อรถมาเราก็ต้องมาขยับช่วงล้อให้ยาวขึ้น เพื่อให้รถของเราเหมาะสมกับลักษณะการบรรทุก ทำให้เราต้องมาทำอู่เอง ลักษณะจะเป็นการต่อรถเพื่อใช้เองมากกว่า ไม่ได้รับทำงานข้างนอก

หัวใจสำคัญคือเวลา

โรงงานที่เราวิ่งอยู่จะมีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่ารถคันนี้ต้องเข้าโรงงานเวลานี้ จะช้าไปหรือเร็วไปไม่ได้ โดยทั่วไปจะกำหนดให้ถึงโรงงานก่อนคิวเชือดประมาณ 15 – 30 นาที เพื่อให้ไก่ได้ผ่อนคลาย ตรงนี้เป็นมาตรฐานสัตว์ปีกของทางสหภาพยุโรป ( EU ) คืออากาศต้องไม่ร้อน ความชื้นต้องได้ ไก่ไม่ร้อง ทำให้ไก่สลบแล้วจึงเข้าเชือด เพื่อไม่ให้เป็นการทารุณสัตว์ ตรงนี้เราก็ต้องทำให้ได้ตามเวลาที่เค้ากำหนด ถ้าไม่ทันเวลาก็ถือว่าตกคิว ต้องชดใช้ให้ทางโรงงาน ซึ่งตรงนี้จะมีข้อมูลบันทึกไว้

ถ้ารถเสีย เราก็ต้องหารถแทน เพื่อให้ไก่ใช้เวลาอยู่บนถนนน้อยที่สุด อย่างมากไม่เกินครึ่งชั่วโมง เราต้องเคลื่อนย้ายไก่ให้ไปต่อเข้าโรงงานให้ได้

ตรงต่อเวลาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ

ข้อกำหนดเรื่องเวลาตรงนี้คือคุณภาพการให้บริการของเรา ก็ทำให้เราต้องใส่ใจในเรื่องการบำรุงรักษารถของเราไปในตัวด้วย เพราะรถของเราวิ่งหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ถ้ารถเสียคนขับต้องประเมินก่อนว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง ประเภทที่เล็กๆน้อยๆ เช่นยางรั่ว ก็เข้าร้านปะยางแล้วก็ไปต่อ แต่ถ้าเสียแล้วไม่สามารถไปต่อได้ เราก็จะส่งรถไปลากเข้าโรงงาน เอาไก่เข้าโรงงานให้ทันก่อนแล้วค่อยซ่อมทีหลัง คือพยายามอย่าให้รถจอดนาน ถ้ารถจอดแล้วอากาศจะไม่ระบาย ไก่ที่อยู่ด้านล่างๆจะร้อน เกิดความเครียด ก็ส่งผลย้อนกลับไปที่คุณภาพของไก่อย่างเช่นที่ได้กล่าวไว้แล้ว

อายุการใช้งานรถไม่ใช่ปัญหา

เพราะทางโรงงานจะมีการตรวจสอบคุณภาพ ว่าผู้รับเหมาแต่ละรายตกคิวกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งตรงนี้จะสามารถบอกได้ถึงมาตรฐานของการบำรุงรักษารถได้ เพราะฉะนั้นรถใหม่รถเก่าไม่ใช่ปัญหา แต่จะซีเรียสเรื่องเวลาที่เข้าโรงงานเท่านั้นเอง อีกอย่างรถของเรากระบะจะใช้สแตนเลสทั้งหมด ถ้าใช้เหล็กธรรมดาเมื่อเหล็กผุ น้ำก็จะลงไปที่แชสซีส์ ทำให้แชสซีส์ผุตามไปด้วย แต่ของเรา 10 – 20 ปีก็ยังคงสภาพเดิม

คนขับรถถือเป็นทรัพยากรสำคัญ

นอกจากความรู้ความสามารถในการขับรถแล้ว ยังต้องผ่านการอบรมการดูแลการขนย้ายไก่จากโรงงานก่อน รวมไปถึงความซื่อสัตย์ก็มีส่วน คนขับทั้งหมดประมาณ 100 คน มีการประชุมทุกเดือน จะมีการถามคอมเมนท์จากโรงงานแล้วเอาเข้าที่ประชุมเพื่อรับทราบและแก้ไขปัญหา ระบบของเราก็คล้ายๆกับหลายเจ้า คือระบบเหมาน้ำมัน สมมติค่าเที่ยว 1,400 บาท ค่าน้ำมัน 40 % ของค่าขนส่ง ค่าน้ำมันกี่บาท เหลือเท่าไรคุณเอาไปเลย แต่ก็ต้องแลกกับการดูและรักษารถ ถ้าคนขับปล่อยให้รถเสียรายได้ตรงนี้ก็จะหายไป ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นแบบเหมาเที่ยว คือขับให้เสร็จๆรับค่าแรงเป็นเที่ยวๆไป คนขับก็จะละเลยไม่ใส่ใจบำรุงรักษา

ความพร้อมด้านอะไหล่

อะไหล่ก็ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีโรงงานไหนที่บอกว่าค่าอะไหล่เพิ่มแล้วเขาจะขึ้นให้ ซึ่งต่างจากราคาน้ำมันเพราะมันเห็นได้ชัดเจนกว่า อะไหล่ที่บริษัทมีเกือบทุกชิ้นเพราะรถของเราวิ่งกันทุกวัน หยุดวันอาทิตย์ ร้านอะไหล่ปิด เราไม่สามารถไปหาซื้ออะไหล่ได้ จึงต้องมีการสำรองเก็บไว้

มุมมองธุรกิจขนส่งสัตว์ปีก

ธุรกิจไก่ถือเป็นธุรกิจปิดที่อยู่ในวงแคบๆ โรงงานพวกนี้จะมีมาตรฐานอยู่แล้วว่ากำลังการผลิตจำนวนเท่าไรต่อปี ในอนาคตถ้าโรงงานไม่เพิ่มกำลังการผลิต โอกาสที่ผู้รับเหมารายใหม่จะเข้ามาก็ลำบาก ถึงได้บอกว่าเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างปิด ไม่ใช่การผูกขาด แต่ว่าเข้ามาแล้วไม่มีสินค้าให้ขนเพราะโรงงานต้องการใช้รถเท่านี้ ก็จะสั่งรถเท่านี้ไม่มีการต่อรถออกมารองาน ไม่ใช่ว่าจะเข้ามาแล้วก็สามารถวิ่งได้เลย รถแต่ละคัน คนขับแต่ละคนล้วนต้องมีประวัติการทำงานทุกๆอย่างในธุรกิจนี้ล้วนแต่มีขั้นตอน

เทียบท่า

ชื่อบริษัท : บริษัท สุระชัยบรรทุกสัตว์ปีก จำกัด

ธุรกิจ : ขนส่งสัตว์ปีก (ไก่)

พื้นที่บริการ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จำนวนรถ : 160 คัน

ติดต่อ 044-219-410

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Tuesday, 31 August 2021 04:42
ศุทธดา ศิริกรโสภณ

Author : เกาะติดข่าวการเงิน ธนาคาร หลักทรัพย์ การลงทุน ตราสารหนี้ กองทุน สกุลเงินตราต่างประเทศ ทองคำ การเกร็งกำไร ความเสี่ยงด้านการลงทุน ดอกเบี้ย และข่าวอื่นที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินและตลาดทุน

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM