Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ฮิโรกิ มิตสึมาตะ “JETRO” สะท้อนความมั่นใจใน EEC

นับตั้งแต่เกิดโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก “EEC” ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมใช้เวลาเกือบ 2 ปีจนวันนี้โครงสร้างพื้นฐานหลัก 5 โครงการที่วางแผนไว้จะสร้างภายใน 5 ปี ด้วยเห็นเม็ดเงินลงทุน 1.7 ล้านล้านบาทนั้น TOR รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เปิดให้นักลงทุนซึ่งได้ซื้อซองถึง31 รายยื่นเข้ามาเรียบร้อยแล้ว

ป็นตัวการันตีและจุดเริ่มต้นว่า รัฐบาลไทยเดินหน้า EEC ตามที่เคยให้สัญญาไว้ ประกอบกับ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่สมบูรณ์ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2561 วันนี้ “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ “นายฮิโรกิ มิตสึมาตะ” ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) กรุงเทพฯ

Q : เชื่อมั่นใน EEC

งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Eastern Economic Corridor (EEC) Workshop ครั้งนี้เป็นคำขอจากเราซึ่งมีทั้ง JETRO และหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) ร่วมกันจัดขึ้น บริษัทญี่ปุ่นที่มาเข้าร่วมงานในวันนั้นรู้สึกได้ถึงว่าการจัดงานนั้นประสบความสำเร็จ เพราะวันนี้ทางการรัฐบาลไทยได้มาลงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการของ EEC ให้กับทางนักธุรกิจญี่ปุ่นรับทราบ และให้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น หลังจากที่กฎหมายออกมาใช้อย่างเป็นทางการแล้ว

Q : ความต้องการของญี่ปุ่น

สิ่งที่ทางเราและ JCC อยากให้รัฐบาลไทยทำเพิ่มเติม คือ การพิจารณาประเด็นสมาร์ทวีซ่าใหม่ ที่แต่เดิมกำหนดเงื่อนไขของเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท ทาง JCC ได้แจ้งหน่วยงานไทยว่า เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ซึ่งวันนี้นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ก็ได้รับปากว่าทางรัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขให้

ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม-กันยายนเมื่อปีที่แล้ว JCC ได้มีการสรุปความประสงค์มาแล้วว่า อยากให้รัฐบาลไทยทำอะไรบ้าง และในงานได้หยิบยกประเด็นบางส่วนขึ้นมาพูด คือ เงื่อนไขการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ที่อยากให้รัฐบาลไทยมีส่วนรับผิดชอบต้นทุนการลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงสูง และอีกประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่อย่างหุ่นยนต์ (robot) ที่อยากให้มีการกำหนดเงื่อนไขให้ง่ายขึ้น เพราะการนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้อาจจะต้องมีข้อยกเว้นทางกฎหมาย ด้วยการอนุญาตให้มีการทดสอบบางประการที่อาจขัดต่อกฎหมายได้ ตอนนี้ทางญี่ปุ่นก็รอรัฐบาลไทยพิจารณาใหม่และประกาศเงื่อนไขใหม่ออกมา

Q : 10 อุตฯ เหมาะกับ EEC หรือไม่

ส่วนตัวมองว่าอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) ที่ประเทศไทยวางไว้ในพื้นที่ EEC นั้นมีความเหมาะสม แต่การที่บริษัทญี่ปุ่นจะลงทุนในอุตสาหกรรมระดับสูง หรืออุตสาหกรรม 4.0 ตัวโครงการ EEC เองก็ต้องมีความพร้อมของตนเองด้วย

Q : สิทธิประโยชน์พอหรือไม่

นักลงทุนญี่ปุ่นมองว่าสิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลไทยมอบให้ค่อนข้างจะเพียงพอและมีความพึงพอใจ โดยเฉพาะในด้านข้อยกเว้นทางภาษี อย่างไรก็ตามนักลงทุนญี่ปุ่นบางส่วนมองถึงปัญหาภายใน EEC ว่า การประมาณการดีมานด์ในโครงการ EEC อาจจะมากเกินความเป็นจริง และในโครงการที่ต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยังมีไทม์ไลน์ที่ยังไม่ชัดเจน

ซึ่งในวันนี้นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) หรือจะเป็นโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ระบุว่าจะมีการขายซองร่างขอบเขตของงาน (TOR) ภายในปี 2561 นี้ ก็ถือว่าสร้างความมั่นใจว่าจะมีการเดินหน้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางญี่ปุ่นจะยังจับตาว่าหลังเปิดขายซองจะดำเนินโครงการอย่างไรต่อไป

สำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบนพื้นที่ EEC นั้น บริษัทญี่ปุ่นมีความมั่นใจ แต่ก็อยากจะมั่นใจมากขึ้นด้วยการที่รัฐบาลเปิดเผยรายละเอียดมากขึ้น ซึ่ง นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีอุตสาหกรรม ก็ได้พยายามให้ความมั่นใจนักลงทุนญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ทางเราเองหากมีโอกาสหารือพูดคุยมากขึ้น จะทำให้ทางญี่ปุ่นมั่นใจเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

Q : สิ่งสำคัญที่ทำให้ EEC สำเร็จ

ความสำเร็จของโครงการ EEC นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญคือ “รัฐบาลไทยจะต้องสื่อสารสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนจากต่างประเทศ” ทั้งนี้ ถ้าดูจากในอดีตหรือช่วงนับตั้งแต่ 2 ปีที่แล้วก่อนจะมี EEC เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่เกิด EEC ขึ้นมาแล้ว นักลงทุนญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกที่จะลงทุนในประเทศไทย และถือว่ามีความกระตือรือร้นในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 14 October 2018 13:56

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM