IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
โดยกลุ่มปล่อยข่าวอ้างกันว่า ขวดน้ำแบบ PET นั้น เมื่อโดนความร้อนจะปล่อยสาร BPA ออกมา ส่งผลต่อความผิดปรกติของพันธุกรรม เป็นโรคมะเร็งได้ แท้จริงเป็นอย่างไร
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอบถึงข้อเท็จจริง เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ และให้สัมภาษณ์หลายรายการ ให้คนที่สงสัยได้กระจ่างกันไปเลยว่า
สาร BPA ที่แชร์กันว่าจะออกมาจากขวด PET นั้น แท้จริงแล้ว สาร BPA หรือ Bisphenal A นั้น ไม่ได้ใช้เป็นองค์ประกอบของขวดน้ำดื่มใส หรือ ขวด PET ที่เราใช้ดื่มกันเลย …
สารนี้ ส่วนมากใช้เป็นสารที่เอาไว้ยารอยต่อของโลหะของกระป๋องอาหาร และก็เอาไว้ผลิตพลาสติกพวก PC หรือ Polycarbonate ที่เป็นพลาสติกหนาๆ ทนๆ ใสๆ ) …. สารนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับฮอร์โมนเพศ เลยมีความกังวลกันว่า ถ้าเอาไปทำขวดนมให้เด็กทารก ซึ่งต้องต้มบ่อยๆ จะทำให้สารมันหลุดออกมาและเป็นอันตรายต่อเด็กทารกในระยะยาวได้หรือไม่ เลยมีการรณรงค์ให้เลิกใช้ในขวดนม .. แต่ไม่ใช่ในภาชนะของผู้ใหญ่หรืออาหารกระป๋องนะ
ส่วนขวดใสใส่น้ำ หรือขวด PET (โพลีเอธิลีน เทเรพธาเลต) นั้น ก็สามารถเก็บน้ำ และวางไว้ในรถได้ แม้จะตากแดดร้อน … โดยมีงานวิจัยพบว่า ถ้าจะให้เกิดสารอันตรายอื่นๆ เช่น phthalate และ พลวง ที่ละลายออกมาจากขวดลงไปในน้ำมากเกินมาตรฐาน ก็จะต้องใส่ตั้งขวดไว้ในที่ร้อน อุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียส นานเป็นเวลาเกิน 11 เดือน ดูรายละเอียด https://en.wikipedia.org/wiki/Polyethylene_terephthalate#Safety
ส่วนในไทยเองนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้เคยสุ่มตรวจขวดน้ำ PET กว่า 10 บริษัท พบว่าค่าสารที่ละลายออกมาน้ำอยู่ในมาตรฐาน http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/recycle_plastic.htm และการนำขวดมาใช้ซ้ำนั้น ทาง ก.สาธารณสุข บอกว่าไม่น่ามีปัญหาเรื่องสารเคมีปนออกมา แต่อาจมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่มากกว่า ถ้าล้างไม่ดีพอก่อนที่จะบรรจุซ้ำใหม่
สรุปว่า น้ำที่เก็บในรถนั้นไม่ได้อันตรายหรือก่อมะเร็ง ขวด PET ก็สามารถเก็บน้ำได้นาน (แต่ไม่ใช่ตากแดดไว้เป็นแรมปี)
ส่วนเรื่องการใช้ซ้ำแล้ว ปนเปื้อนเชื้อโรค อ.เจษฎา บอกว่าภาชนะทุกอย่างจาน ชาม ช้อน ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ต้องล้างให้มั่นใจว่าสะอาดปราศจากเชื้อโรคปนเปื้อนจริง (ถึงใช้ขวดแก้ว หรือภาชนะอื่นๆ ก็มีปัญหาแบบนี้ได้ไม่ต่างกัน หากไม่ล้างให้สะอาด)
ที่มา : เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
ที่มา : amarintv