Print this page

การพัฒนาเอนไซม์เพื่อพลังงานชีวมวล

วิกฤติพลังงานเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนร่วมกันหาทางออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานมากที่สุด โดย ไบโอเอทานอล เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย

ทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพพลังงานขึ้น โดยหนึ่งในปัจจัยหลัก คือ เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลาย ซึ่งปัจจุบันใช้เอนไซม์จากเชื้อรา Aspergillus niger (AnBG) ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้งาน

จากรายงานการวิจัย ‘การปรับปรุงสมบัติของเอนไซม์เบต้า-กลโคซิเดสเพื่อใช้สลายวัสดุชีวมวล ในการผลิตไบโอเอทานอล’โดย ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานถึงข้อจำกัดของเอนไซม์ AnBG ที่มีความจำเพาะสูง รวมถึงอ่อนไหวต่ออุณหภูมิ 

ทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาเอนไซม์ดังกล่าวขึ้นภายใต้แนวคิด

Art party photo booth deserunt exercitation plaid squid. Minim Austin 3 wolf moon scenester aesthetic, umami odio pariatur bitters. Pop-up occaecat taxidermy street art, tattooed beard literally duis photo booth Thundercats shabby chic. Velit non seitan, tilde art party minim Thundercats viral.

  • ตอบสนองต่อสารตั้งต้นที่หลากหลายยิ่งขึ้น
  • มีความเสถียรต่ออุณหภูมิสูง
  • ทำให้เอนไซม์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง

ผลการวิจัยสามารถให้โครงสร้าง AnBG เบื้องต้นเกิดการกลายพันธุ์และสามารถย่อยสลายน้ำตาลที่เป็นสารตั้งต้นได้หลากหลายมากขึ้น พบว่าเอนไซม์กลายพันธุ์ Y286F ตอบสนองต่อน้ำตาล 4 ชนิดที่นำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการทดสอบ เมื่อทดสอบเพิ่มเติมพบว่าการทำงานร่วมกับเอนไซม์กลายพันธุ์ Y286W ได้ปริมาณกลูโคสสูงสุด สำหรับเอนไซม์กลายพันธุ์ P144C-D614C และ A474C-N521C มีความเสถียรต่ออุณหภูมิและ pH ช่วงเบสสูงกว่า AnBG ดั้งเดิม โดยมีแนวโน้มในการนำ AnBG ดั้งเดิมที่ได้รับการตรึงรูปด้วย Magnetic Nanoparticles สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

การวิจัยนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายวัตถุดิบเหลือใช้หรือของเสียจากกระบวนการผลิต ลดต้นทุนด้านพลังงานและการกำจัดของเสียลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการต่อยอดการใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 14:51
ปองภพ เจนกิจโสภณ

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยีและอิเลคทรอนิกส์, ทุกเรื่องราว IT, Software และ Gadget, IoT, AI, EV, วิทยาศาสตร์, โทรคมนาคม, Artificial Intelligence, Machine Learning ฯลฯ

Latest from ปองภพ เจนกิจโสภณ

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM