Print this page

เตรียมตัวติดตั้ง “โซลาร์ รูฟท็อป” อย่างไร?

โดย : บริษัท เค.ที.ที. วัฒนา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (K.T.T. WATTANA ENGINEERING Co., Ltd.)

แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือโซลาร์รูฟท็อป ในปัจจุบันเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง อย่างโรงงานอุตสาหกรรมที่หันมาติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป นอกจากต้นทุนที่ถูกลงแล้ว ยังช่วยลดพีคค่าไฟฟ้าในช่วงกลางวัน เพราะการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์สามารถลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าภายในโรงงาน

สำหรับโรงงานขนาดกลางๆ ของไทยส่วนใหญ่ การดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในกระบวนการผลิต จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ราว 500,000 กิโลกรัมต่อปี หรือเทียบเท่า กับการปลูกต้นไม้ถึง 25,000 ต้น

ปัจจุบันในการทำธุรกิจของผู้ประการ การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ทุกบริษัทหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องกำหนดแผนการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งอาจเริ่มจากการลดการใช้พลังงานง่ายๆ ใกล้ตัว เช่น ลดการรั่วของระบบลมในโรงงาน, ปิดไฟแสงสว่าง พัดลม และเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ได้ใช้งาน, ติดสัญญาณเตือนเมื่อเปิดเครื่องจักรขนาดใหญ่ทิ้งไว้, เปลี่ยนรถยกไฟฟ้าแทนรถยกแบบน้ำมัน และเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอด LED ฯลฯ

หลายองค์กรดำเนินนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน ด้วยการนำนวัตกรรม “Green Innovation” ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ร่วมในกระบวนการผลิต ซึ่งนอกจากจะช่วยการประหยัดพลังงาน ประเด็นสำคัญอยู่ที่การพัฒนาองค์กรและแบรนด์ สู่การเป็นแบรนด์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งสร้างผลทางการตลาดมหาศาล

โดยการติดตั้งแผงโซลาร์รูฟท็อป เพื่อใช้พลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงงาน โกดัง คลังสินค้า หรืออาคารสำนักงาน โดยเลือกใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพและได้รับการทดสอบจากมาตรฐานสากลแล้วว่ามีประสิทธิภาพสูง มีอายุการใช้งานยาวนาน มีความทนทานสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยจากสารพิษและโลหะหนักตกค้าง ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน RoHS

 

สำหรับกระบวนการติดตั้ง โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเลือกการติดตั้งลงบนพื้นที่ของหลังคาโรงงาน เช่น ถ้ามีพื้นที่หลังคาขนาด 3,5000 ตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวโดยทั่วไปแผงโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งนั้นจะกำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุด 700 กิโลวัตต์ จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึงปีละ 1,100,000 หน่วยต่อปี สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำหนักและพื้นที่ที่ใช้

ทั้งนี้ จากพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น หลังจากได้ติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป จะสามารถลดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในโรงงานได้ประมาณ 5 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการติดตั้งในแต่ละครั้ง จะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 30 ปี

 

นอกจากนี้ จากความมุ่งมั่นในการดำเนินนโยบายด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสำนักงานและโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมทั้งกระบวนการผลิตและทุกๆ กิจกรรมที่บริษัทฯ จัดขึ้น จะส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 และมาตรฐานระบบการจัดการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสากล ISO 14001 ทั้งระบบ ซึ่งจะสร้างความมั่นคงและการตลาดให้กับแบรนด์และองค์กรได้อย่างยั่งยืน

กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการติดตั้ง “โซลาร์ รูฟท็อป” ของผู้ประกอบการมาพอสมควรแล้ว แต่ถ้าต้องการติดตั้งมาดูกันว่าเราต้องเตรียมตัวกันอย่างไรบ้าง

“โซลาร์ รูฟท็อป” คืออะไร

โซลาร์ รูฟท็อป” คือ ระบบเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยวิธีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาของอาคาร โดยระบบจะเริ่มทำงานเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงอาทิตย์ และจะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) แปลงไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อให้สามารถใช้งานกับเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในโรงงานหรืออาคารได้

 

ก่อนติดตั้งเตรียมข้อมูลให้พร้อม 

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสำรวจความพร้อม และเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเพื่อใช้ประกอบการประเมิน และคำนวณแผนการลงทุนในการติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป อาทิ ภาพรวมปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยสามารถรวบรวมได้จากใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าย้อนหลัง 12 เดือน แบบแปลนไฟฟ้าแบบไดอะแกรม (Electrical Single line Diagram) โหลดอิเล็กทรอนิกส์ (Electric Load Profile) ความพร้อมของพื้นที่สำหรับติดตั้งแผงโซลาร์ เช่น ขนาด หรือความแข็งแรงโครงสร้างหลังคา เพื่อให้การคำนวณกำลังการผลิตไฟฟ้า มีความแม่นยำยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ประกอบการยื่นขออนุญาตติดตั้งระบบฯ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร แบบโครงสร้างของหลังคา รายการคำนวณโครงสร้างหลังคา เป็นต้น

 

ติดตั้งอย่างเป็นระบบ ลดปัญหากวนใจ

โซลาร์ รูฟท็อป” ไม่ใช่เพียงแค่การนำแผงโซลาร์เซลล์ไปติดตั้งบนหลังคาแล้วจะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้ในทันที หากแต่ต้องมีการติดตั้งอย่างเป็นระบบ โดยมีวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ เข้าไปสำรวจ ประเมิน ตลอดจนออกแบบ และวางแผนระบบฯ ให้เหมาะกับพื้นที่นั้นๆ เช่น การคำนวณจำนวนของแผงโซลาร์ ให้สัมพันธ์กับโครงสร้างของหลังคา เพื่อการผลิตไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นผู้ประกอบการควรมองหาผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญสามารถออกแบบโซลาร์รูฟท็อปได้ตามความต้องการ วางระบบกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง โดยคำนึงถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) ที่ผลิตจากซิลิคอนบริสุทธิ์ มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงกว่าแผงชนิดอื่นในปัจจุบัน รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่คุ้มค่ามากที่สุด

“การบริการหลังการติดตั้ง” คือหัวใจสำคัญ

ถึงแม้ว่าอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์จะยาวนานถึง 25 ปี แต่การดูแลรักษาคุณภาพของตัวแผงตลอดอายุการใช้งาน รวมถึงการติดตามประสิทธิภาพการทำงานของทั้งระบบฯ ยังถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกใช้ผู้ให้บริการด้านการติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป เพื่อความสามารถในการผลิตพลังงานโซลาร์ได้อย่างคุ้มค่าในระยะยาว

สำหรับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจที่สนใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โปรดติดต่อ
บริษัท เค.ที.ที. วัฒนา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
K.T.T. WATTANA ENGINEERING Co., Ltd.
149/133 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
Tel: 092-519-5649
Fax: 02-501-3097
ID LINE : 0925195649



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(4 votes)
Last modified on Thursday, 22 April 2021 06:09
วันวิสา ศรีตะวัน

Author : ตามช่าว "กิน ดื่ม เที่ยว ทัวร์" ร้านอาหารแนะนํา ร้านอาหารอร่อย สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว โปรแกรมเที่ยว โรงแรม ที่พัก สายการบิน การศึกษา ฯลฯ เปิดชีวิตไปกับการท่องโลกกว้าง

Latest from วันวิสา ศรีตะวัน

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM