Print this page

CPPC ลุยลงทุน เพิ่มกำลังผลิตเป็น 6,000 ตันต่อเดือน

“บริษัท ซี.พี. สหอุตสาหกรรม จำกัด” เดินหน้าลงทุนสวนกระแสโควิด-19 ย้ำออเดอร์ยังทะลักเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่าเท่าตัว เตรียมปรับปรุงไลน์ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกโรงงานสีคิ้วโคราช รองรับฐานตลาดกลุ่ม “CP “ สู่ระดับสากล ด้วยนวัตกรรมการผลิตล้ำสมัย รุกกำลังการผลิตสู่ 6,000 ตันต่อเดือน

แหล่งข่าว บริษัท ซี.พี.สหอุตสาหกรรม จำกัด (C.P. Poly-Industry Co., Ltd.) หรือ CPPC บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เพิ่มการลงทุนไลน์การผลิต โดยส่วนใหญ่จะเน้นเป็นเครื่องจักรเป็นหลักซึ่งส่วนใหญ่เครื่องจักนี่นำเข้ามาจากยุโรป ตัวเครื่องจักจะมีขนาดใหญ่พอสมควร เพราะท่าเทียบกับตัวอาคารจะมีความยาวอยู่ที่ 260 เมตร แต่เครื่องจักรนี่จะเป็นลักษณะการน้ำเครื่องเล็กหลายๆเครื่องมาประกอบกันเป็นไลน์เดียวกัน โครงการขยายกำลังการผลิตนี้ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 2563 และทยอยปรับปรุงในด้านอื่น ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯได้ถือโอกาส Shut down สายการผลิตและปรับปรุงนวัตกรรมเพิ่มอีกด้วย 

“การที่เราติดตั้งเครื่องจักรใหม่ครั้งนี้คือต้องการเครื่องจักรที่มีคุณภาพสูงมาใช้ทดแทนเครื่องเก่าและเครื่องจักรใหม่นี้ยังสามารถลดการใช้พลังงานไปในตัวด้วย ซึ่งเครื่องจักรเก่าค่อนข้างกินพลังงานหากเทียบกับปริมาณที่สามารถผลิตได้"

ซึ่งในการติดตั้งเครื่องจักรตรงนี้จะทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มเป็นสองเท่า โดยเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 5,000 – 6,000 ตันต่อเดือน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มซีพีฯ และลูกค้าส่งออก

สำหรับแผนการลงทุนเพิ่มๆ นอกเหนือจากนี้นั้น บริษัทฯ ยังต้องดูสภาวะตลาดในแต่ช่วงด้วย หากมีออเดอร์จากลูกค้าเพิ่มทั้งในกลุ่มซีพี และส่งออก ก็จะมีการลงทุนเพื่อให้กำลังการผลิตสามารถรองรับความต้องการลูกค้าไม่ให้สะดุด โดยปกติเครื่องจักรที่บริษัทฯใช้ จะมีอายุประมาณ 6-10 ปีอยู่แล้ว ซึ่งยังคงเดินเครื่องผลิตได้เต็มกำลัง แต่บริษัทฯเองก็ได้มีการปรับนวัตกรรมการผลิตอยู่เสมอ เพื่อให้ก้าวทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง

บริษัท ซี.พี.สหอุตสาหกรรม จำกัด  ผู้ผลิตกระสอบพลาสติก กระสอบป่าน และผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีกำลังการผลิต 150 ล้านใบต่อปี โรงงานตั้งอยู่ที่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่รวมทั้งหมดกว่า 340 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่โรงงานผลิตประมาณ 100 ไร่ และพื้นที่ที่เหลือจะเป็นส่วนของบ้านพัก ซึ่งการผลิตที่โรงงานโคราชจะส่งให้กับของทางซีพีเองโดยตรงและรายย่อย และส่งออกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นการส่งออกโดยอ้อม โดยใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก รวมไปถึงส่งออกต่างประเทศ อาทิ โซนยุโรป และ อเมริกา

อนึ่ง กลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คือ บริษัท CPPC จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อปี 2532 โดยดำเนินการเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งภารกิจหลักคือการมุ่งเน้นพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มธุรกิจในเครือเจริญโภคภัณฑ์ นอกจากนั้นยังรับผลิตและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วไปอีกด้วย โดยโรงงานของกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ CPPC ในประเทศไทยมีอยู่ 4 แห่งด้วยกัน  โดยมีนโยบายที่จะนำเทคโนโลยีการผลิตอันสมัยใหม่เข้ามาเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ด้วยประสิทธิภาพสูงที่สุด และยังต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

การคิดค้นหรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์มี 2 ส่วน คือ หนึ่งต้องตอบสนองนโยบายบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ด้วยหลัก 5Rs ของ CEO คุณศุภชัย เจียรวนนท์  สำหรับส่วนที่สองเนื่องจากเราเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระสอบพลาสติกที่มีการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม ดังนั้น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไม่ว่าในแนวทางใดก็ตาม หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์ก็ยังต้องคงอยู่ นั่นคือต้องสามารถป้องกันและถนอมรักษาผลิตภัณฑ์ที่อยู่ข้างในได้ในช่วงระยะเวลาตาม Shelf-Life ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

“ฉะนั้นในการพัฒนาจะต้องมีความแตกต่างหลากหลาย มีจุดเด่นที่ผู้ผลิตคู่แข่งยังไม่สามารถทำได้ หรือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคา หรือเพื่อเพิ่มยอดขายโดยการลดต้นทุนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับหลักการ Reduce อาทิ การลดน้ำหนักกระสอบให้เบาลงหรือบางลง ลดปริมาณสีจากที่เคยพิมพ์ 3 สี ให้เหลือเพียงสีเดียว หรือลดการใช้ด้ายเย็บกระสอบด้วยการใช้เทคนิคเย็บแบบ Ultrasonic Heat Seal แทน ซึ่งการลดเหล่านี้ ท้ายที่สุดบรรจุภัณฑ์กระสอบที่ได้ยังคงต้องผ่านมาตรฐานการใช้งานต่างๆ ของลูกค้าเสมอ  

สำหรับหลักการ Recycle ทางบริษัทก็ได้ดำเนินการในลักษณะ Upcycling วัตถุดิบประเภทพลาสติก โดยการแปรสภาพไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อนำกลับมาใช้ในโรงงานได้สักระยะหนึ่งแล้ว นั่นคือการนำของเสียระหว่างกระบวนการผลิต หรือสินค้าสำเร็จรูปที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ต้องคัดทิ้ง เช่น พิมพ์เลอะ ภาพพิมพ์เบลอ หรือสีพิมพ์ Off Spec เหล่านี้นำไปหลอมเหลวแล้วนำกลับมาขึ้นรูปใหม่เป็นพาเลตพลาสติก (Plastic Pallet) เพื่อนำกลับมาใช้ในโรงงาน นับว่าเป็นการลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะปล่อยสู่ห่วงโซ่บรรจุภัณฑ์ได้อีกทางหนึ่ง  

นอกจากนี้ทางบริษัทให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม คือ ‘การส่งเสริมการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นต์ (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์’ ซึ่งนับได้ว่าเราเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมการผลิตกระสอบพลาสติกที่ได้ขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตเพื่อจำหน่าย ไว้กับ ‘องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก’ (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เพื่อแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไร ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจชื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้คาร์บอนฟุตพริ้นต์ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย

“ส่วนเป้าหมายในระยะยาว สำหรับแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น จะไม่ใช่แค่การ Reduce หรือ Recycle แต่หมายถึงการจะต้อง Replace คือการหาสิ่งมาทดแทน ทั้งในรูปของวัตถุดิบที่จะมาทดแทนเม็ดพลาสติกจากปิโตรเลียม เป็นเม็ดพลาสติกที่มาจากธรรมชาติ ที่เรียกว่า Bio-plastic หรือ Bio-based ซึ่งความสามารถในการย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมได้ รวมทั้งการทดแทนทั้งในรูปของระบบอัตโนมัติมากขึ้นเพื่อมาทดแทนแรงงานคนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต หรือการทดแทนพลังงานความร้อนจากไฟฟ้า โดยการใช้ระบบโซลาร์เซลล์จากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้น  รวมทั้งการก้าวสู่แนวทาง Reinvent บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยของไทยแลนด์ 4.0 และตรงความต้องการของผู้บริโภคในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด หรือแบบ Disruptive ต่อไป”

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 27 May 2020 07:20
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM