Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
STG-Chemical & Paints-Strip-Head

"กลุ่มอดิตยา เบอร์ล่า" วางรากฐานเติบโตอย่างยั่งยืน

กลุ่มบริษัทอดิตยา เบอร์ล่า บริษัทสัญชาติอินเดีย เผยเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม  ทั้งในประเทศจีนและไทย ย้ำไทยยังเป็นฐานการผลิตสำคัญอันดับต้นๆ พร้อมดันสายการผลิตในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการส่งออกสินค้าในภูมิภาคเอเชีย

นายซันจีฟ สูท (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานระดับภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทยคาร์บอน แบล็ค) และ ดร.เบอร์ คาปูร์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานฝ่ายปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจไฟเบอร์ ประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน นำทีมผู้บริหารกลุ่มบริษัทในเครืออดิตยาเบอร์ล่า (Aditya Birla) เข้าเยี่ยมคาราวะ นายอุตตม สาวนายน (ที่ 4 จากซ้าย) รมว.อุตสาหกรรม เพื่อรับทราบนโยบายด้านการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 และเป็นแนวทางในการขยายการลงทุนของกลุ่มอดิตยาเบอร์ล่าในประเทศไทย

มาร์ มังกะลัม เบอร์ล่า ประธานบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า กรุ๊ป ซึ่งมีรายได้ต่อปี 4.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.4 ล้านล้านบาท) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องราวของบริษัท ในขณะที่บริษัทใกล้จะฉลองครบรอบ 50 ปี ของการทำธุรกิจในประเทศไทยในปี 2519 ที่กำลังจะมาถึง

เรามุ่งมั่นต่อการทำธุรกิจในไทยอย่างแน่นอน เนื่องจากที่ผ่านมา เราได้รับประสบการณ์อันยอดเยี่ยมทั้งด้านผู้คน วัฒนธรรมการทำงาน และระบบกฎหมาย ทำให้ไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญยิ่งสำหรับเรา

“ผมไปพบกับรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมมาแล้ว และพอทราบเกี่ยวกับภาคส่วนใหม่ๆ ที่รัฐบาลไทยกำลังส่งเสริมอยู่ ฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังทำขณะนี้คือการศึกษาภาคส่วนดังกล่าว และดูว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมในภาคส่วนใดได้หรือไม่” ประธานเบอร์ล่ากล่าว โดยภาคส่วนใหม่ทั้ง 5 ประกอบด้วย 1.ไบโอฟู้ดและเกษตรกรรม 2.บริการสุขภาพ 3.เทคโนโลยีขั้นสูง เครื่องจักร และหุ่นยนต์ 4.เศรษฐกิจดิจิทัล และ 5.ภาคบริการและวัฒนธรรม

 

ประเทศไทยฐานการผลิตที่สำคัญ

โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ อดิตยา เบอร์ล่า กรุ๊ป เข้ามาก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 1960 และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจในประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท หรือราว 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และบริษัทฯในเครือได้จดทะเบียนในตลาดทรัพย์แห่งประเทศไทยไปแล้ว 2 บริษัท คือ บมจ.ไทยคาร์บอนแบล็ค ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.เบอร์ล่า คาร์บอน(ไทยแลนด์) และบมจ.ไทยเรยอน

ก่อนหน้านี้ ธุรกิจของบริษัทฯ อยู่ที่ภาคการผลิตเป็นหลัก แต่เบอร์ล่าได้แตกธุรกิจเข้าไปสู่ภาคส่วนต่างๆ และตั้งเป้าให้บริษัทเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมหลายประเภท ซึ่งเป็นสาเหตุของการเข้าซื้อกิจการต่างๆ ในอินเดียมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา โดยการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจของอินเดียเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องขยับขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบัน อดิตยา เบอร์ล่า ดำเนินธุรกิจในกว่า 35 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานรวมกว่า 1.3 แสนคน โดยเบอร์ล่ามองเห็นอนาคตอันรุ่งเรืองในทุกหน่วยธุรกิจของบริษัท โดยเฉพาะธุรกิจการเงิน การผลิตซีเมนต์และโลหะ

กลุ่มอดิตยาเบอร์ล่า ในประเทศไทยเน้นผลิตคาร์บอนแบล็ก โดย บมจ.เบอร์ล่า คาร์บอน(ไทยแลนด์) ผลิตวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตยางต่างๆ รวมถึงเป็นบริษัทผลิตเส้นใยสังเคราะห์และแผ่นอะลูมิเนียมราโดยบริษัทฯ ยังมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนตั้งธุรกิจใหม่ และการเข้าซื้อรวมถึงควบรวมกิจการแบบที่บริษัทเคยทำมาโดยตลอด ขณะที่ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ต่อปีของบริษัทอยู่ที่ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาท

 

ไทยคาร์บอนแบล็ค เปลี่ยนเป็น เบอร์ล่า คาร์บอน 

ทั้งนี้ บมจ.เบอร์ล่า คาร์บอน(ไทยแลนด์) หรือ BCT ได้มีมติที่ประชุมบอร์ด อนุมัติเปลี่ยนชื่อจาก บจม.ไทยคาร์บอนแบล็ค โดยบริษัทได้มีการจดทะเบียนแก้ไขรายการดังกล่าวต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561ที่ผ่านมา บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจผลิตผงเขม่าดำสำหรับยางรายใหญ่ของประเทศ โดยผลประกอบการสรุปจาก ตลาดหลักทรัพย์ของ BCT และบริษัทย่อย ไตรมาส 2/62 กำไรสุทธิลดลงเหลือ 366.67 ล้านบาท

 

ไทยเรยอนขยายการผลิตรุกส่งออกทั่วโลก

บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตเส้นใยประดิษฐ์เรยอน มีกำลังการผลิตประมาณ 1.5 แสนตันต่อปี และผลิตเกลือโซเดียมซัลเฟต 1.2 แสนตันต่อปี โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง บนพื้นทีกว่า 156 ไร่ ได้รับการรับรอบมาตรฐาน ISO 9002 ,ISO14001 ในกระบวนการผลิต โดยผลิตภัณฑ์เส้นใยของบริษัทฯ มีรูปแบบที่ทันสมัย สัมผัสที่นุ่มสบาย ดูดซับความชื้นสูง และย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ รวมถึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ อาทิ เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน และของใช้ในโรงพยาบาย ฯลฯ

โดยบริษัทฯ ได้ตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ่งทอและอื่นๆ ด้วยผลิตภัณฑ์เส้นใยเรยอนที่มีความหลากหลายตั้งแต่ 0.9 – 5.5 Denier และเส้นใยที่มีความยาวตั้งแต่ 32-120 มม. และมีระดับความแวววาวของการฟอกย้อมและกึ่งทึบ ส่งผลให้เส้นใยของเรยอนกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ได้ส่งออกไปยัง 25 ประเทศทั่วโลก

บริษัทฯ จึงได้ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยในประเทศไทย ได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตในสายการผลิตที่ 5 และติดตั้งเครื่องจักรใหม่ในสายการผลิตที่ 1 สำหรับโรงงานผลิตก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์จากก๊าซธรรมชาติ รวมถึงมีแผนในการเพิ่มกำลังการผลิตทุกภาคส่วน เพื่อรองรับตลาดส่งออกในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Thai Rayon ยังผลิตจุนสีเกลือโซเดียมประมาณ 118,000 ตันต่อปี ซึ่งมีการใช้ อย่างกว้างขวาง ในน้ำยาทำความสะอาด กระจก เยื่อไม้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องหนัง

Thai Rayon ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 และ การรับรอง 14001 และยังเป็นผู้รับรางวัล TPM อันเป็นสุดยอดปรารถนา  บริษัทฯได้รับการรับรองมาตรฐานพร้อมด้วย Oeko-Tex Standard 100, การรับรองของอุตสาหกรรมสิ่งทอของการทดสอบระดับโลก และโครงการได้รับการรับรองไม่ให้มีสารที่เป็นอันตรายในอุตสาหกรรมสิ่งทอยัง ผู้บริโภค  Thai Rayon อยู่ในอันดับหนึ่งของนายจ้างที่ดีที่สุดในประเทศไทยโดย Hewitt Associates 

 

อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคอล

Aditya Birla Chemicals (Thailand) Ltd. เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบธุรกิจด้านสารเคมีของกลุ่มบริษัทระดับโลก Aditya Birla ซึ่งกระจายตัวอยู่ในต่างพื้นที่มากกว่า 9 หน่วยหลัก โดยในประเทศไทยมี 5 แห่ง และ 4 แห่ง ในประเทศอินเดีย

บริษัทเป็นผู้นำในการผลิตสารเคมีที่สำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์คลออัลคาไล,อีพ็อกซีเรซิน,เอพิคลอโรไฮดริน,ซัลไฟต์ และฟอสเฟต ทั้งนี้ อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคอล เกิดจากการรวมตัวกันของทั้งสี่บริษัทด้านเคมีภัณฑ์ ในปี 2549 คือ

1.Thai Organic Chemicals Company (TOCC),

2.Thai Epoxy and Allied Products Company (TEC),

3.Thai Polyphosphate & Chemicals Company (TPC)

4.Thai Sulphites & Chemicals Company (TSC)

 

ทั้งนี้ ธุรกิจของอดิตยา เบอร์ล่า มีการสร้างการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก สารเคมีของกลุ่มอดิตยาที่ส่งออกไปยัง 58 ประเทศ รวมไปถึงให้บริการแก่ลูกค้าในหลากหลายกลุ่มธุรกิจและมีจำนวนมาก เช่น ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร, สินค้าอุปโภค-บริโภค, วิศวกรรม, โยธา,ไฟฟ้า, พลังงานลม, ชิ้นส่วนประกอบ, รถยนต์, กระดาษ และเยื่อ, สารทำความสะอาด, การบำบัดการบำบัดน้ำ, โลหะ และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

ประธาน อติตยา เบอร์ล่า เปิดเผยต่อว่า ยังคงเปิดกว้างรับโอกาสการขยายธุรกิจในอนาคต ไม่ว่าจะทั้งผ่านการลงทุนตั้งธุรกิจใหม่ (Greenfield) หรือการเข้าซื้อและควบรวมกิจการแบบที่บริษัทเคยทำมาโดยตลอด ขณะที่ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ต่อปีของบริษัทให้ไปอยู่ที่ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2 ล้านล้านบาท) แม้จะออกตัวว่าเป้าหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจงก็ตาม

“นั่นเป็นเป้าหมายภายในที่เราตั้งขึ้นมาสำหรับตัวเอง แต่การป่าวประกาศออกมาแล้วไล่ตามเป้าหมายนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากโลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน” ประธาน อติตยา เบอร์ล่า กล่าวปิดท้าย

 

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 28 November 2018 13:58
รสริน พัชรโยธิน

Author : ขาลุย นักข่าวภาคสนาม เกาะติดข่าวสารด้าน Manufacturing ทั้งอุสาหกรรมเหล็ก ซีเมนต์ สี เคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก แร่และโลหะ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้างต่างๆ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM