Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

โดย : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สยาม โคฟเวอร์ ไพพ์ (SIAM COVER PIPE LIMITED PARTNERSHIP)

ความหมายของ Tube และ Pipe

  • Tube ในงานท่อหมายถึง ผลิตภัณฑ์ท่อที่กำหนดขนาดโดยการระบุค่า Outside Diameter และกำหนดความหนาของผนังท่อเป็นมิลิเมตรหรือนิ้ว หรือ Gauge ในการใช้งานส่วนใหญ่ของ Tube นั้นมักถูกใช้เป็นท่อขนาดเล็กภายในอุปกรณ์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์ Tube ที่ใช้งานส่วนใหญ่มีขนาดเริ่มตั้งแต่ OD. 1/8 นิ้ว ( 3.175 mm. ) ถึง 3 นิ้ว (76.2 mm.) ส่วน Tube ที่ขนาดใหญ่กว่า 3 นิ้ว ก็มีใช้งานอยู่บ้างแต่มีน้อยมาก
  • Pipe หมายถึงผลิตภัณฑ์ท่อที่กำหนดขนาดโดยการระบุค่าNominal Size สำหรับความหนาของผนังท่อถูกกำหนดเป็น Schedule Number หรือ Weight Class โดยส่วนใหญ่ Pipe มักถูกใช้เป็นท่อที่เชื่อมต่อจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ผลิตภัณฑ์ Pipe ที่ใช้งานส่วนใหญ่มีขนาดเริ่มตั้งแต่ NPS 1/8 ถึง NPS 80 หรือใหญ่กว่านี้ในกรณีพิเศษ

ท่อเหล็กกล้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แบ่งตามกรรมวิธีการผลิตได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ ท่อเชื่อมตะเข็บ (Welded pipe) และท่อไร้ตะเข็บ (Seamless pipe)

 1.ท่อเชื่อมตะเข็บ (Welded pipe)

ท่อชนิดนี้ผลิตโดยการนำแผ่นเหล็กมาม้วน – เชื่อม ซึ่งวิธีการม้วนทำให้ทั้งม้วนตามแนวยาว หรือม้วนแบบ Spiral ท่อตะเข็บแบ่งประเภทตามวิธีการเชื่อมตะเข็บดังต่อไปนี้

Electric  Resistance  Welding  (ERW)  เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บหลอมละลายด้วยความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า โดยไม่มีการอาร์ค (arc) กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นจะค่อยๆม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ผ่านลูกรีดหลายแท่นโดยไม่ต้องใช้ความร้อน (cold forming) แล้วทำการผ่านกระแสไฟฟ้าตกคร่อมระหว่างขอบทั้งสองของตะเข็บ ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าจะทำให้ขอบของเหล็กร้อนแดงที่อุณหภูมิระหว่าง 1200 °C ถึง 1400°C (2200°F ถึง 2600°F) แล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam)

Butt  Weld  (BW) หรือ  Continuous  Butt  Welding  (CBW) บางครั้งก็ถูกเรียกว่า Furnace Butt  Welding ( FBW) หรือ Hot  Pressure Welding เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บร้อนแดงด้วยความร้อนจากเตาเผา  กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์  จากนั้นป้อนแผ่นเหล็กผ่านเตาเพื่อทำการให้ความร้อน  โดยแผ่นเหล็กจะได้รับความร้อนทั่วทั้งแผ่น  แต่ด้วยเทคนิคการจัดเรียงหัวเผาในเตา จัดให้บริเวณขอบแผ่นเหล็กร้อนที่สุด จากนั้นค่อยๆ ม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง  โดยผ่านลูกรีดหลายแท่น (hot forming) แล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam)

Electric Fusion  Welding  (EFW)  เป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการอาร์คบริเวณแนวเชื่อมให้หลอมละลายติดกัน โดยอาจใช้ลวดเชื่อม (filler metal) หรือไม่ใช้ก็ได้  กระบวนการเชื่อม Fusion Welded นี้มีด้วยกันหลายวิธี เช่น Submerge Arc  Welding   (SAW),Double Submerge Arc Welding (DSAW  ซึ่งเหมือน SAW แต่เป็นการเชื่อมตะเข็บทั้งด้านนอกและด้านใน),Gas Tungsten Arc Welding (GTAW หรือ TIG)และGAS Metal Arc Welding (GMAW หรือ MIG) เป็นต้น การผลิตท่อด้วยกระบวนการเชื่อม Fusion Welded มีทั้งแบบตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam) และตะเข็บ Spiral (Spiral  welded seam) ดังนี้

  • ท่อเชื่อมตะเข็บตรง ขึ้นรูปต่อเนื่อง ขั้นตอนการขึ้นรูปคล้ายกับวิธี ERW
  • ท่อเชื่อมตะเข็บตรง ขึ้นรูปแบบ U- O ใช้วิธีการกดแผ่นเหล็กแต่ละชิ้น ให้เป็นรูปตัว ² U ² จากนั้นจึงกดต่อให้เป็นตัว ² O ² แล้วจึงทำการเชื่อม ท่อที่ผลิตด้วยวิธี U- O นี้เรียกว่า UO Pipe UOE
  • ท่อเชื่อมตะเข็บ Spiral ขึ้นรูปอย่างต่อเนื่องด้วยการคลี่แผ่นเหล็กออกจากคอยล์ แล้วม้วนเป็น Spiral แนวเชื่อมจะมีลักษณะวนคล้ายขดสปริง  ซึ่งบางทีก็เรียกว่า Helical ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้เรียกว่า Spiral Pipe

 

 2.ท่อไร้ตะเข็บ (Seamless Pipe)

ผลิตจากแท่งเหล็ก (Steel billet) ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้แท่งเหล็กตัดกลม วิธีการผลิตเริ่มจากการให้ความร้อนแท่งเหล็กที่อุณหภูมิประมาณ 1230°C  (2250°F) จากนั้นแท่งเหล็กที่ร้อนแดงจะถูกหมุนและดึงด้วยลูกรีดผ่านแท่งทะลวง (piercing  rod  mandrel) ลูกรีดจะดึงให้เนื้อโลหะไหลผ่านแท่งทะลวงทำให้เกิดเปลือกท่อกลวง  (hollow  pipe  shell) ขึ้น หลังจากนั้นจะให้ความร้อนอีกครั้งแล้วจึงรีดท่อโดยมี Support  Bar อยู่ด้านใน เพื่อปรับให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความหนาของผนังที่ต้องการ

อย่างไรก็ตามในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตท่อเหล็กกล้า จะต้องมีการรีดท่อเพื่อปรับแต่งขนาดและความหนาของท่อให้ตรงตามมาตรฐานหรือความต้องการของลูกค้า ซึ่งการรีดขั้นสุดท้ายมีทั้งรีดร้อน/รีดเย็น  รีดทั้งท่อเชื่อมตะเข็บและท่อไร้ตะเข็บ ซึ่งก็จะมีชื่อเรียกตามวิธีการและชนิดของท่อ

เช่น Hot  Finish  Seamless (HFS) , Cold  Drawn Seamless (CDS) , Cold  Drawn Welded (CDW) เป็นต้น

หน้าแปลน (Flange)

Flange หรือ หน้าแปลน เป็นส่วนประกอบหนึ่ง สำหรับงานท่อ ที่ไว้สำหรับ เชื่อมต่อท่อ
ซึ่ง จะมีมาตรฐานกำหนด ไว้เพื่อง่ายต่อการนำมาใช้งาน ดังนั้น การออกแบบหน้าแปลน
เราจะต้องทราบว่า หน้าแปลน มาตรฐานนั้นมีขนาดเท่าไร
ซึ่ง มาตรฐานนั้นมันก็มีหลายมาตรฐาน ซึ่งถูกกำหนด ไว้ใน ตารางหน้าแปลน หรือ Flange Table
ซึ่งหน้าแปลนนั้นมี ทั้งหมด 6 ชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการใช้งาน และ ความต้องการในการรับแรงดัน

ความหมาย ของหน้าแปลนแต่ละชนิด

1.Weld neck Flanges = ต่อแบบเชื่อม บริเวณคอของหน้าแปลน

2.Slip on = ต่อแบบประกบ

3.Socket weld = มีช่องต่อข้างใน

4.Spectacle Blind = แบบสลับปิดและเปิดได้

5.Blind = แปลตรงตัวว่าไม่มีทางออก นั่นคือ หน้าแปลนแบบปิด นั่นเอง

6.Lap joint flange = หน้าแปลน แบบมีช่วงต่อเพิ่ม

7.Threaded = หน้าแปลน แบบเพิ่มบริเวณผิวสัมผัสหน้าแปลน


สนใจสอบถามเกี่ยวกับการติดตั้งท่อและงานถัง โปรดติดต่อ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สยาม โคฟเวอร์ ไพพ์
SIAM COVER PIPE LIMITED PARTNERSHIP
16/157 หมู่ที่ 5 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 21130
โทร : 092-564-6199
ID Line : 0925646199

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 25 May 2022 08:17
สุรเชษฐ์ บุญพิทักษ์

Author : จบสาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง เกาะติดข่าวก่อสร้าง โยธา อาคาร บ้าน ตึก ถนน รถไฟความเร็วสูง อภิมหาโปรเจค ฯลฯ รวมไปถึงเทคโนโลยีเครื่องจักร นวัตกรรมการก่อสร้าง และเทคนิคการก่อสร้างสมัยใหม่ 

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM