Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

จัดทัพลงทุน ธุรกิจสปาใน CLMV

ธุรกิจสปาเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวรุ่งของไทยที่ขยายตัวควบคู่กับการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวเอเชียที่นิยมใช้บริการสปาของไทย เช่น จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น ทั้งนี้ Global Wellness Institute ประเมินว่าตลาดสปาของไทยมีมูลค่าราว 4.3 หมื่นล้านบาท ในปี 2017

และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากการขยายตัวด้านรายได้และจำนวนชนชั้นกลางในจีน ความนิยมใช้บริการสปาไทยของนักท่องเที่ยวและวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้นในยุคดิจิทัล

นอกจากธุรกิจสปาในประเทศจะขยายตัวจากการปรับรูปแบบการให้บริการและการขยายสาขาแล้ว ยังสามารถคว้าโอกาสจากจุดแข็งของผู้ประกอบการไทยด้านคุณภาพการบริการ รูปแบบการทำสปาที่มีเอกลักษณ์ รวมถึงองค์ความรู้ด้านสมุนไพร โดยหลายประเทศในอาเซียนถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ ในการเลือกประเทศที่จะเข้าลงทุน อีไอซีแนะนำให้ผู้ประกอบการพิจารณาอัตราการเติบโตของรายได้ต่อหัวประชากรควบคู่กับการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาลูกค้ากลุ่มเดียวมากเกินไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ผันผวนตามฤดูกาลและอ่อนไหวต่อเหตุการณ์ทางลบ เช่น เหตุการณ์ทางการเมือง โรคระบาด หรืออุทกภัยมากกว่าคนท้องถิ่น

อีไอซีมองว่ากัมพูชาและเวียดนามเหมาะกับการเข้าไปลงทุนธุรกิจสปา โดย IMF คาดการณ์ว่ารายได้ต่อหัวของประชากรกัมพูชาจะขยายตัวเฉลี่ย 7.5% ต่อปี ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ขยายตัวเฉลี่ย 29% ต่อปี ในช่วงปี 2013-2017 แตะระดับ 1.2 ล้านคน และมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2018 ทั้งนี้ เมืองที่น่าลงทุนคือพนมเปญและเสียมราฐ ซึ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของกัมพูชา นอกจากนี้ ในเดือน ส.ค.2017 รัฐบาลกัมพูชาได้อนุมัติข้อเสนอการลงทุนจากบริษัทเอกชนของจีนเพื่อก่อสร้างสนามบินในเสียมราฐ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวของกัมพูชาในอนาคต

ในขณะที่เวียดนามมีจุดที่น่าสนใจคือภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตรุดหน้ากว่าประเทศอื่นในกลุ่ม CLMV จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ขยายตัวเฉลี่ย 23% ต่อปี ระหว่างปี 2013-2017 จนแตะระดับ 4 ล้านคน ในขณะที่จำนวนชนชั้นกลางก็คาดว่าจะขยายตัวจนมีจำนวน 33 ล้านคน ในปี 2020 จากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตในระดับสูง ส่งผลให้เวียดนามมีฐานลูกค้าคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวจีนที่ใหญ่กว่าประเทศอื่น การลงทุนในเมืองใหญ่อย่างดานัง ฮานอย และโฮจิมินห์จึงมีความน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีรูปแบบการทำสปาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งอาจส่งผลให้รูปแบบการทำสปาจากต่างประเทศไม่ได้รับความนิยมมากนักจากคนท้องถิ่น ผู้ประกอบการอาจต้องปรับรูปแบบการทำสปาแบบสากลให้เหมาะสมกับคนท้องถิ่นเพื่อให้ตัดสินใจใช้บริการได้ง่ายขึ้น

 

ในปัจจุบัน พบว่าเริ่มมีการลงทุนจากกลุ่มธุรกิจสปาต่างประเทศในกัมพูชาและเวียดนามแล้ว โดยในกัมพูชาส่วนใหญ่เป็น Hotel spa ที่บริหารโดยโรงแรมระดับสากล เช่น Le Méridien Spa หรือ So SPA by Sofitel แต่ยังไม่มี Day spa ที่มีมาตรฐานสากลเปิดให้บริการมากนัก ขณะที่ในเวียดนามพบว่ามีการลงทุนจากกลุ่มธุรกิจสปาขนาดใหญ่อย่าง Six Senses รวมถึง Le SPA ที่บริหารโดย AccorHotels ก็เริ่มเปิดให้บริการในโรงแรมหลายแห่งเช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสปาจากไทยอาจสร้างความแตกต่างโดยใช้จุดเด่นด้านรูปแบบการทำสปาที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย เช่น การนวดแผนไทย การนวดประคบ การใช้สมุนไพรไทย รวมถึงการสร้างแบรนด์โดยอิงกับเอกลักษณ์ความเป็นไทย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญของการขยายธุรกิจสปาในกัมพูชาและเวียดนามคือการเปลี่ยนงานของแรงงานท้องถิ่นในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการสาขา ผู้จัดการฝ่าย/แผนก ซึ่งมักจะเปลี่ยนงานบ่อยครั้งเมื่อมีโอกาสได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น เนื่องจากกฎหมายของทั้งสองประเทศกำหนดสัดส่วนการจ้างงานแรงงานท้องถิ่นของบริษัทต่างชาติ แต่จำนวนแรงงานท้องถิ่นที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางในทั้งสองประเทศยังมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจสปาที่เติบโตโดยการขยายสาขา ผู้ประกอบการจึงควรหาวิธีแก้ไขปัญหานี้หากต้องการรุกตลาดในทั้งสองประเทศ

โดย ปุลวัชร ปิติไกรศร

ที่มา : https://www.posttoday.com/aec/news/566459

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 14 October 2018 12:43

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM