Print this page

ไทยตื๊อญี่ป่นร่วม รถไฟเร็วสูงเชียงใหม่ JICA ชี้ช่องทำให้คุ้มทุน

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ชี้แจงการดำเนินโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯเชียงใหม่ว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต

พร้อมปฏิเสธกระแสข่าวที่แพร่ข้อมูลผ่านสื่อว่าประเทศญี่ปุ่นจะไม่เข้าร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและซ่อมบำรุง เนื่องจากกังวลว่าจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

นายสราวุธ กล่าวว่า

ก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการ ท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 เสร็จเดือนพฤศจิกายน 2560

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ยังอยู่ระหว่างหารือรูปแบบการลงทุนโครงการร่วมกัน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากมีรายละเอียดหลายประเด็นที่ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในส่วนของงานก่อสร้างและงานวางระบบ รวมถึงงานจัดซื้อตัวรถและการซ่อมบำรุง

"เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 กระทรวงคมนาคมและ MLIT ได้มีการหารือร่วมกันอีกครั้งในการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม โดยฝ่ายไทย ยังยืนยันว่าฝ่ายญี่ปุ่นควรร่วมพิจารณาลงทุนกับฝ่ายไทย เนื่องจากผลการศึกษาของ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สรุปว่าต้องมีการ พัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางและพื้นที่รอบสถานี (TOD) ร่วมด้วย จึงจะเกิด ความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวต้องอาศัยประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญของญี่ปุ่น ดังนั้น การ ตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้รัฐบาลไทยจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ"นายสราวุธ กล่าว

ทั้งนี้ด้านงานบริหาร และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานียังคงมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาร่วมลงทุนควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อผลิตบุคลากรรองรับในอนาคต

นายสราวุธกล่าวว่า ฝ่ายไทยยังเสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาใช้รูปแบบการดำเนินงานลักษณะเดียวกับการลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2558 ที่ลงทุนผ่าน Japan Oversea Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) โดยมอบหมายให้คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกันศึกษาและหารือรายละเอียดดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องการร่วมลงทุนในโครงการนี้ โดยเร็ว

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 24 January 2019 09:05
ชุติมา ธรรมเที่ยง

Author : เกาะติดข่าวขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ รวมไปถึงกระบวนการจัดการและวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ การควบคุม และศุลกากร

Latest from ชุติมา ธรรมเที่ยง

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM